PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • พระอาจารย์คำไม ฐิตสีโล
  • การปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจ 14 พ.ค. 68
การปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจ 14 พ.ค. 68 รูปภาพ 1
  • Title
    การปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจ 14 พ.ค. 68
  • เสียง
  • 13912 การปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจ 14 พ.ค. 68 /aj-kammai/2025-05-27-05-22-32.html
    Click to subscribe
ผู้ให้ธรรม
พระอาจารย์คําไม ฐิตสีโล
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันอังคาร, 27 พฤษภาคม 2568
วัด/สถานที่บรรยายธรรม
วัดทับมิ่งขวัญ บ้านติ้ว ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • การปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจ

    เป็นวันใหม่เช้าที่ 14 พฤษภาคม 2568 เป็นวันดี วันดีคืนดีก็ดีทุกวัน เพราะวันเวลาเป็นลักษณะเปลี่ยนแปลง มีมืดมีสว่าง มีเช้ามีสาย มีบ่ายมีเย็น แต่มันก็ดีอยู่ที่เรามีการได้พบสิ่งดีๆ มีการที่เราเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ

    การปฏิบัติเป็นการชำระจิต ชำระจิตชำระใจ ชำระสิ่งที่เปรอะเปื้อนในใจของเราได้ เป็นการปฏิบัติเพื่อเขย่าธาตุรู้ หรือการปลุกธาตุรู้ หรือเป็นการให้มีสติเกิดขึ้น หรือสร้างสติเกิดขึ้น เป็นลักษณะของการปฏิบัติที่ต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เป็นสิ่งที่จะอยู่ประจำชีวิตเราตลอดไป

    จากการที่เราปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดการติดแนบแน่นเกี่ยวกับชีวิตเกี่ยวกับจิตใจเราตลอดไป จึงมีการปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนแปลง เพื่อเปลี่ยนแปลงจิตใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นธรรมชาติในกายในจิตของเรา เป็นการเปลี่ยนเพื่อให้ดีขึ้น เพื่อให้เป็นการพัฒนาที่ดีขึ้น

    คำว่าวิปัสสนาคือการทำให้ดี ทำให้มีทำให้เป็น คือเป็นการพัฒนา หรือเป็นการทำวิปัสสนาให้เกิดให้มีให้ดีขึ้น ก็เป็นการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติของเราเป็นการเจริญสติ

    การเจริญสติคือกำหนดความรู้ตัว เป็นการปฏิบัติในอิริยาบทที่เราเคลื่อนไหว ทั้งชีวิตคนเรามีการเคลื่อนไหวอยู่แล้วเป็นธรรมชาติ แต่ก่อนที่เรายังไม่มาปฏิบัติเราก็เคลื่อนไหว เราก็ลุกยืนเดินนั่งนอน แต่พอเรามาปฏิบัติเราก็เคลื่อนไหว แต่เติมการเคลื่อนไหวให้มีสติ

    แต่ก่อนการเคลื่อนไหวของเราเป็นไปตามสัญชาตญาณ คือมันเป็นตามธรรมชาติ เกิดมาก็ต้องมีการลุกเดินนั่งนอนคู้เหยียดเคลื่อนไหวเป็นไปตามธรรมชาติที่มีอยู่ในชีวิต แต่พอเรามาปฏิบัติเราเคลื่อนไหว แต่ให้เติมสติ เติมสติเข้าไปอยู่กับการเคลื่อนไหว อยู่กับการกำหนดรู้

    กำหนดรู้ คือกำหนดความรู้ตัวความรู้สึก หรือกำหนดรู้อาการที่กำลังเกิดภายใน หรือกำลังเกิดที่เรารู้สึกตัวได้ในขณะที่เราเป็นมีหรือขณะที่เราเคลื่อนไหว ก็เลยเป็นการให้รู้ตัว อยู่กับความรู้ตัว อยู่กับการตื่นรู้ ก็จะเป็นธรรมชาติอย่างนั้น

    การปฏิบัติธรรมก็เพื่อให้ติดต่อกันเป็นลูกโซ่ แรกๆ เราก็ปฏิบัติในรูปแบบ เพราะว่ารูปแบบเป็นตัวเจตนาทำให้มีการรู้ตัว ซึ่งการทำในรูปแบบเมื่อมันได้รับข้อมูลหรือได้สัมผัสตื่นรู้อยู่เสมอ มันเป็นการเตือนความจำหรือเป็นสัญญา คือความแนบแน่นอยู่กับชีวิต อยู่กับความสัมผัสรู้

    ซึ่งเรากำหนดรู้จากรู้สึกตัว มันจะเป็นการเชื่อมไปสู่การสัมผัสรู้ด้วยความรับรู้ ด้วยความสัมผัสอยู่กับอาการอยู่กับการเป็นปัจจุบัน ในขณะที่เรากำลังเคลื่อนไหว ขณะที่เรากำลังเป็นอยู่ เราก็เลยได้ข้อมูลจากสิ่งที่มันเกิดตามความเป็นจริง เราเคลื่อนไหวเราก็รู้ตัว

    พอเรารู้ตัวไปบ่อยๆ เข้าไป มันจะเป็นลักษณะจำได้ว่าความรู้ตัวเป็นลักษณะนี้ การรู้ตัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับจิต เข้าไปเกี่ยวข้องกับชีวิต เข้าไปเกี่ยวข้องกับความเป็นความรู้สึกนึกคิด มันก็จะมีประสบการณ์ พอมีประสบการณ์จากการที่เราได้ลงสนามหรือลงมือปฏิบัติด้วยตัวเรา ก็จะเกิดความคุ้นเคยหรือเกิดสัญญา

    สัญญาความจำ สัญญาที่เป็นประสบการณ์เกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดเป็นสมาธิคือเกิดเป็นจิตตั้งมั่น มีการอยู่กับปัจจุบันจะทำให้จิตเราตั้งมั่น มันจะเป็นลักษณะของการมีความรอบคอบ มีการไม่หุนหันพลันแล่น ไม่ลุกลี้ลุกลน ไม่วิ่งไปกับความฟุ้งซ่านความหงุดหงิดรำคาญ

    มันจะเป็นลักษณะเหมือนกับว่ามีความเป็นปกติ หรือมีความเป็นความสงบเพิ่มมากขึ้นในแต่ละขณะที่เราเคลื่อนไหว เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติธรรมจะต้องมีอย่างนี้ จะต้องเห็นอย่างนี้ เรียกว่าเห็นธรรม เห็นธรรมรู้ธรรม ไม่ใช่ไปเห็นนอก

    ไม่ใช่ไปเห็นสิ่งที่อยู่ภายนอก ไม่ใช่ไปเห็นแสงเห็นสี เห็นสิ่งที่มันเป็นลักษณะความนึกคิด เหมือนกับว่าความรู้ที่เราเคยได้ยินได้ฟังมันจะไปวิพากษ์วิจารณ์ ไปเอามาทบทวนเอามาต่อเนื่องกับความที่เราปฏิบัติ มันเลยกลายเป็นว่าเรารู้ไป อาจจะไม่เป็นความเขาเรียกว่าความไม่โปร่งใส ไม่ปกติ ไม่เป็นจริง บางทีมันปรุงแต่งเสริมสร้างขึ้นมา หรือไปจินตนาการ คิดว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้

    แต่จริงๆ พอเรามาปฏิบัติในรูปแบบการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว เราต้องเห็นสิ่งที่เป็นรูป เห็นสิ่งที่เป็นนาม เห็นสิ่งที่เป็นกายเป็นใจ เห็นสิ่งที่เป็นวัตถุ เป็นปรมัตถ์ เป็นอาการ คือเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น เห็นสิ่งที่เป็นสภาวะ เป็นอาการ ซึ่งเราก็กลับมาหาความรู้ตัว

    ซึ่งการทำหน้าที่ต่างๆ เราก็ทำหน้าที่ไปตามสมมติต่างๆ หรือตามที่เราได้บัญญัติหรือได้กำหนดขึ้นมา พอเราทำหน้าที่แต่เรามีตัวรู้เติมเข้าไปในขณะของการเคลื่อนไหวจะในรูปแบบหรือนอกรูปแบบก็แล้วแต่ บางทีเรารู้สึกตัวได้ในรูปแบบต่างๆ อาจจะไม่ใช่ในรูปแบบของการเดินจงกรมสร้างจังหวะ

    แต่เราก็รู้สึกตัวได้ในขณะกำลังทานอาหาร ขณะกำลังเดินไปในที่ต่างๆ หรือขณะกำลังยืนเดินนั่ง มันรู้ตัวได้ ก็ใช่ความรู้สึก ก็ใชสติ ก็เป็นความถูกต้องในรูปแบบของการทำที่กาย กับนอกรูปแบบที่เราไม่ได้กำหนดตามจังหวะหรือตามการเดินเป็นเดินจงกรม แต่เรากำมือพลิกมือกระดิกนิ้วมือเราก็รู้ตัวได้ ก็เป็นการเห็น สัมผัสความรู้ตัว มีสติได้

    เพราะฉะนั้นในการที่เรารู้ตัวอยู่เสมอก็เป็นการปฏิบัติ เพื่อให้เราได้กลับมา กลับมาหากายหาใจของเรา หาความเป็นชีวิตจิตใจของเรา เรียกว่ากลับมาเริ่มต้นที่การรู้ตัว เพราะฉะนั้นความรู้สึกตัวมีอยู่ทุกเวลาตั้งแต่ตื่นเราก็มีเลย

    บางทีเราไม่ได้ไปทำในรูปแบบ เช่นเรากระดิกนิ้วมือ แค่เรากำมือพลิกมือเราก็รู้ตัวเรา จะนั่งเฉยๆ แค่กระดิกมือเบาๆ หรือแค่สัมผัสรู้มันก็คือรู้ตัวนั่นแหละ รู้เหมือนกับรู้อันเดียวกัน รู้อันใหญ่ๆ รู้อันเล็กๆ รู้แบบสัมผัสด้วยนิ้ว รู้แบบสัมผัสด้วยเดิน รู้แบบสัมผัสด้วยมีสิ่งมากระทบกาย หรือเป็นลมเป็นแดดเป็นร้อนเป็นหนาว มันก็คือความรู้ตัว

    เพราะฉะนั้นเราจึงเหมือนกับว่าไม่ต้องไปวิ่งดิ้นรนหาอะไรมาก เพราะมันมีอยู่แล้ว มันอยู่กับเรา ใกล้ๆ เรานี้เอง ความรู้ตัว มีสติ มันจึงเป็นลักษณะของการสัมผัส หรือเห็นประจักษ์ หรือเห็นตามความเป็นจริงอาการที่เกิดขึ้น

    ถ้ามันรู้ตัวบ่อยๆ เข้า ถี่ขึ้น เหมือนกับไปไหนมาไหนมันก็ตีกลับมาดูใจ คำว่ารู้ตัวก็เลยเป็นลักษณะเกี่ยวข้องกับการดูใจ คำว่ากลับมารู้สึกตัวก็คือดูใจ เรียกว่าดูกายก็เห็นจิต ดูคิดก็เห็นธรรม ดูกรรมก็เห็นนิพพาน ดูอาการก็เห็นปรมัตถ์ ดูอริยสัจก็เห็นความจริง ก็เป็นลักษณะนั้น

    มันจะเป็นลักษณะดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม ถ้าดูกรรมคือการกระทำก็จะเห็นนิพพาน คือเห็นใจที่มันเย็น ที่มันเป็นปกติอยู่ ตรงนั้นเรียกว่าเห็นนิพพาน

    การที่เรารู้ประจักษ์ รู้ตามความเป็นจริงอย่างนี้มันเป็นลักษณะเกิดขึ้น เกิดขึ้นจากที่เราสะสมสติปัฏฐาน ที่เราสะสมความรู้ตัว ความมีการเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เลยเป็นการสะสมสร้างขึ้น สร้างขึ้นแล้วก็เป็นลักษณะที่เรากลับมาอยู่กับปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง ไปไหนมาไหนก็เป็นลักษณะที่เรียกว่าธรรมชาติของชีวิตเรา

    เราก็มีความรู้สึกหรือมีสติอยู่เสมอ มันก็เลยมีการใช้ได้ ซึ่งเราเลยมองเห็นตามความเป็นจริง สิ่งที่มันเกิดสิ่งที่มันดับ หรือสิ่งที่เป็นสภาวะอาการ ที่มันรู้แบบชัดเจน หรือรู้แบบดูใจ หรือรู้แบบที่เห็นตามที่เป็นอาการ ก็เป็นปัจจุบันทั้งหมด เรียกว่าตามที่เรารับรู้ได้

    แล้วเราจะมีหลักมีฐาน คือการที่เรามีความรู้สึกตัวได้ก็จะเป็นฐานเป็นหลัก ให้เรานี้มาที่หลักที่ฐาน เหมือนเป็นที่อยู่ เหมือนเป็นที่ตั้ง เหมือนเป็นหลัก เหมือนเป็นที่ที่จะให้เราได้มาพักผ่อนหย่อนใจ ได้มารับข้อมูลสิ่งที่เป็นภายในภายนอก หรือสิ่งที่เป็นปรมัตถ์เป็นอาการ มันก็จะเป็นลักษณะที่มันมีอยู่เป็นอยู่ในอิริยาบถ

    ฉะนั้นเรามีเป้าหมายเพื่อความเข้าใจ การปฏิบัติธรรมนี้เราทำเพื่อให้เกิดความเข้าใจ หรือให้เกิดความเห็นตามเป็นจริง เราไม่ใช่ไปเห็นแสงเห็นสีไปเห็นนิมิตไปเห็นสิ่งที่อยู่ภายนอก ไม่ใช่ไปเห็นสิ่งที่ล่องลอยมา หรือสิ่งที่เป็นลักษณะที่เป็นนิมิต ไม่ใช่อย่างนั้น

    คำว่านิมิตเราแปลว่าเครื่องหมาย คือความรู้ตัว เอาความรู้สึกตัวเป็นนิมิตเป็นเครื่องหมาย เป็นลักษณะที่เราสัมผัสรู้ได้ ส่วนที่ไปรู้ข้างนอกแล้วไปจินตนาการไปนึกไปคิด อันนั้นเป็นอันนี้อันนี้เป็นอันนั้น เขาเรียกมันปรุงแต่ง จิดเราอยู่กับความปรุงแต่งมานาน มันฝังอยู่ในใจเรามา มันเป็นลักษณะคุ้นเคยเป็นลักษณะที่ตามสัญชาตญาณด้วย

    สัญชาตญาณก็มีการกินการนอนการหลีกภัย มันก็ทำให้เรามีความหวาดกลัว มีความหวาดระแวง มีความวิตก มีความดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอด อะไรพวกนี้มันก็มีตั้งแต่เป็นสัญชาตญาณแล้ว มันก็เลยมีการสร้าง ไปได้ยินไปได้เห็นไปได้ฟังมา หรือเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมประเพณี

    บางทีก็ปลูกฝังมาเหมือนกัน ปลูกฝังเป็นความเชื่อ เอาไปเอามาไปปรุงไปแต่งเป็นแสงเป็นสีเป็นนิมิตมาเลย เป็นสิ่งที่เรียกว่าไปกับความปรุงแต่ง มันสร้างมาจนเป็นเครือข่าย จนเป็นความมั่นคงของในชีวิต เราเคยไหลไปทางนั้นมันก็ไหล

    แต่พอเรามาอยู่กับปัจจุบัน คือสร้างความรู้ตัวให้เป็นปัจจุบัน ให้การรับรู้ตามข้อมูลที่มันยังไม่ไหลไม่ปรุงไม่แต่ง มันก็เป็นลักษณะดึงจิตเรากลับ ดึงจิตเรามาที่ตั้ง เป็นลักษณะนั้น

    ฉะนั้นเราก็เลยมีการปฏิบัติ เพื่อให้เราเห็นตามความเป็นจริง ในที่เป็นความเชื่อ หรือเป็นสิ่งที่เป็นไสยศาสตร์มันก็จะเป็นลักษณะค่อยๆ ลบเลือนไป เพราะว่ามันไม่เป็นจริง ไสยแปลว่าหลับไหล ไสยศาสตร์คือเป็นศาสตร์ที่หลับไหล

    เพราะฉะนั้นเราก็เลยกลายเป็นว่า มารู้ที่กาย ที่ความเป็นรูปเป็นนาม ที่ความเป็นอาการ ที่เราอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับความมีสติรู้ตัวเป็นหลัก จะเป็นลักษณะไปฟื้นฟูหรือไปปรับปรุงแก้ไขในสิ่งที่มันเป็นธรรมให้เกิดขึ้น.

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service