แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : อดีตพระประชา ปสนฺนธมฺโม เมื่อวันที่ ๗ ฟื้นคืนมา มีการทำบทความหนึ่งว่าสนทนาความตาย สุดท้ายฟื้นตัวกลับมาได้ ใครมีอะไรบอกกล่าวเขียนฝากไปได้ ขณะนี้พักฟื้นที่โรงพยาบาลศิริราชพยาบาล สวนโมกข์กรุงเทพได้รับคติธรรรม ครบรอบ ๑๒ ปี พุทธศักราช ๒๕๖๖ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม อัญเชิญโอวาส “ในบทสวดมนต์ ทำวัด ที่พุทธบริษัททั้งหลาย สวดสาธยายกันเป็นประจำทุกวัน มีถ้อยความตอนหนึ่งว่า พุทธัสสาหัสมิ ทาโส วะ, พุทโธ เม สามิกิสสะไร แปลความว่า ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า ดังนี้ หากพิจารณาความหมายที่ลึกซึ้ง ย่อมตระหนักได้ว่าความเป็นทาสของพระพุทธเจ้าแท้จริงแล้ว คือ อิสรภาพของชีวิตสรรพสัตว์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ประทานพระธรรมวินัย อุปมาได้ดังกุญแจวิเศษสามารถใช้ไขหลุดพ้นจากเครื่องร้อยรัดซึ่งผูกหมัดตรึงสัตว์ทั้งหลายให้ตกเป็นฐานอยู่ในวังวนแห่งหวงทุกข์พระพุทธองค์ทรงพระมหากรุณาปลดเปลื้องพันธนาการห่วงโซ่สังสารวัฏด้วยอะริยัฏฐังคิกะมัค เป็นทางปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากทุกข์ด้วยอานุภาพแห่งพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ คำว่า “พุทธทาส” จึงมีความหมายสำคัญ เตือนใจให้มหาชนทุกหมู่เหลายอมสละละวางอัตตาตัวตนที่เหนี่ยวแน่น สยบลงเป็นทาสของพระพุทธเจ้าแทนภาวะหลุ่มหลงลงเป็นทาสกิเลสที่รัดตรึงจิตใจจนมานานแสนนาน ทั้งนี้เพื่อความเป็นไทจากอกุศลธรรม และมุ่งโมคธรรมในเบื้องปลายจะบังเกิดได้อย่างถาวร ขอให้สวนโมกข์กรุงเทพจงสถิตสถาพรโดยธรรมนำสาธุชนถ้วนหน้าให้ได้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา เพื่อเข้าถึงความเป็นทาสในสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเสมอด้วยความเป็นอิสระหลุดพ้นจากเพลิงกิเลส และขอนามพุทธทาสภิกขุแห่งพระเดชพระคุณธรรมโกศาจารย์ (อินทปัญโญ) จงปรากฎเกียรติคุณรุ่งเรืองอยู่ตลอดกาลนานเทอญ ...สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๖”
ครั้งที่ ๕ พุทธวิธี (ลัดตรง) สร้างสุข (ที่นี่และเดี๋ยวนี้) ได้โทรศัพท์สายตรงสอบถามอาจารย์ประเวศ วะสี เป็นประเด็นเบื้องต้นครั้งที่ ๕ มีประเด็นอะไรบ้าง ท่านบอกว่าประเด็น ๔ ข้อ ครั้งนี้มีเคล็ดมีประเด็นที่สำคัญ ว่าด้วยจิตรู้กับจิตคิด และอาจารย์ประเวศ วะสี ฝากว่าครั้งนี้อยากฝากให้ทุกท่านได้ทบทวนเรียนรู้เพื่อนำไปจัดการจิตคิด อาจารย์ประเวศ วะสี ใช้คำว่า “ตัวแสบ” จิตคิดตัวแสบ และอยากให้เข้าใจเรื่องจิตรู้เพื่อมีเทคนิคเข้าไปจัดการกับจิตคิด ตอนนี้ทุกท่านก็นั่งคิดอยู่ อาจารย์ปริชาติฯได้หนังสือของอาจารย์หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล ไปได้ไปทดลองมาแล้วหรือยัง อาจารย์ปาริชาติบอกว่าไปเจอคุณเมตตามาเลย ตอนนี้กำลังทวนท่านและท่านใดที่มีคำถามเขียนใส่กระดาษส่งให้กับน้อง คราวที่แล้วน้องผู้หญิงคนหนึ่งตั้งคำถามท้ายสุดแล้วมีเวลาไม่พอ ใครจำได้ใครมีคำถามช่วยนำคำถามมาเพื่อฟังอยู่ทางออนไลน์ เพราะฉะนั้นเพื่อมไม่เป็นการเสียเวลา ประมาณ ๓๐ นาทีแรก อาจารย์หมอประเวศ วะสี จะนำในประเด็นที่อาจารย์เตรียมเพื่อต่อจากตอนที่แล้ว และครั้งนี้ท่านได้ตั้งไว้ ๔ ประเด็น ส่วนประเด็นไหนมากทันหรือไม่ทันก็อยู่ที่อาจารย์เชิญอาจารย์หมอประเวศ วะสี ๐๙.๕๕ น.
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ท่านผู้ที่สนใจในพุทธธรรมที่เคารพทุกท่านครับ ก่อนที่จะมีการกล่าวถึงในวันนี้ ในตอนท้าย ๆ ทั้งหมดมี ๑๒ ตอน เดือนละตอนจนถึงเดือนธันวาคม ๒๕๖๖ ในตอนท้าย ๆ ผมจะนำเสนอเรื่องฟ้าจรดทราย เป็นชื่อนวนิยายที่โด่งดังของโสภาคสุวรรณ เอามาเพื่อจินตนาการ ตอนอยู่ทะเลทรายเห็นทะเลทรายทั้งหมดแล้วฟ้ากับทรายมาจดกัน แต่ที่จะกล่าว คือ โลกธรรมบรรจบกันที่ประเทศไทย ตอนนี้ตีความแตกแล้วตรงนี้ ตีความอยู่นานหลายสิบปีมากว่าประเทศไทยเป็นเมือพุทธ พุทธศาสนาก็เป็นของดี แต่ทำไมเสื่อมเสียศีลธรรม พัฒนาไม่ขึ้นและเป็นเรื่องธรรม ตะวันตกก็พัฒนาไปมีความรู้เยอะ คนเก่ง ๆ เยอะแยะ ทั่วโลกคนได้รับรางวัลโนเบลร้อยแปด ตอนนี้ไปดูที่ประเทศสหรัฐอเมริกายุ่งเหยิงมาก สุดโต่งหรืออะไรแบบนี้กลัวเกิดการปะทะกัน เกิดสงครามกลางเมือง เรื่องคนผิวขาวผิวดำใช้เวลาในการตั้งประเทศมา ๒๐๐ กว่าปีแล้วแก้ไม่ได้ก็ยังยังคงอยู่ ทางโลกก็ไม่ขึ้น ทางธรรมก็ไม่ขึ้น แต่มาบรรจบกันจะลงตัวเพราะว่าต้องการทั้งสอง ธรรมะอย่างเดียวแต่ว่าสังคมไม่ดีคนบรรลธรรมน้อยมาก เกินการปั่นป่วน เหลื่อมล้ำ ยากจน แต่ว่าการพัฒนาสังคมอย่างที่เราเห็น ฝรั่งทำมามากมายมีการชูประชาธิปไตย ชูเสรีภาพหรือว่าอะไรต่าง ๆ นา ๆ ว่าเป็นของดี แต่ปัจจุบันปรากฏว่ามันไม่จริง ถ้าปราศจากธรรม แล้วจะตีความให้ฟังที่จะพูด คือ โลกกับธรรมบรรจบกันที่ประเทศไทย แล้วเรารู้แล้วออกแบบได้ในตรงนี้ และมีความเชื่อว่าจะไปได้ดีเอาไว้ตอนท้าย ๆ
สำหรับวันนี้ จะมีประมาณ ๓ – ๕ หัวข้อ (๑) การเจริญสติเป็นเอกานยมรรค เป็นมรรคอันเอกหรือเป็นประตูไปสู่ธรรมทุกชนิด เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ตรงนี้ ต้องมีการเพิ่มเติมทบทวนทีละน้อยใครมีกลอุบาย มีทริคอะไร เอามาเพิ่มเติม แต่ว่าที่คลาสสิกที่สุด คือ การเจริญสติอานาปานสติ หรือที่เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ ที่พระพุทธเจ้าสอนเอง อยู่พระไตรปิฎก ท่านลงรายละเอียดมาก วิธีการตรงนี้มีการสอนหลายครั้งในพระไตรปิฎกที่มี ๑๖ ขั้นตอน มี ๔ เรื่อง เรื่องละ ๔ ขั้นตอน หนังสือที่ดีที่สุดซึ่งมีหลายสำนวนมากมายอานาปานสติที่ดีที่สุด คือ ของท่านอาจารย์พระพุทธทาสมีหลายเล่มเพราะท่านเทศน์หลายครั้ง และมีคนไปจับมาพิมพ์หนังสือ เล่มที่ดีที่สุด คือ อานาปานสติฉบับสมบูรณ์มีรายละเอียดบอกทฤษฎีและบอการปฏิบัติไว้หมดทั้ง ๑๖ ขั้นตอน ผมยังไม่กล่าวถึงเพราะจะกล่าวถึงเร็วไป และกลัวจะไม่เข้าใจ พูดนั้นนิดพูดนี่หน่อยมา Add Symbols กันภายหลัง แต่ถ้าใครอยากไปหาเล่มนี้มาอ่านแล้วอ่านอีกของท่านอาจารย์พุทธทาส เป็นอานาปานสติที่คลาสสิกแต่มีอื่น ๆ อีกที่วันนี้จะกล่าวถึง คือ หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล ที่เรียกว่ากรรมฐานน้ำเย็น คราวหน้าผมจะกล่าวถึงอานาปานสติแบบเหวี่ยงที่ผมเจอเองก็จะเอามานำเสนอ แต่วันนี้กล่าวถึงหลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล หลังจากนั้นต่อไปก็จะอธิบายจิตคืออะไร เอาให้เข้าใจพูดเผิน ๆ อาจจะยังไม่เข้าใจ จิตคืออะไร เจตสิกคืออะไร จิตเดิมแท้คืออะไร จะอธิบายต่อจากเรื่องนี้ไปเลย เสร็จแล้วพูดถึงเรื่องอุปมาอุปไมยเรื่องโคทึก การทำให้เข้าใจเรื่องสติ สมาธิ ปัญญา อยู่ตรงไหน สัมพันธ์กันอย่างไร อุปมาอุปไมยเรื่องวัวป่าจะเข้าใจอย่างดี เรื่องถัดไปเรื่องธรรมาธรรมะสงคราม สงครามภายในใจของคนทุกคนที่จะต้องต่อสู้ พอตรงนี้พอเห็นสภาพสงครามว่าใครที่มารบกัน ฝ่ายไหนมีอะไรอย่างไร ทำให้เกิดความเข้าใจดีขึ้นถ้ามีเวลาก็แล้วแต่ ถ้าไม่มีเวลาก็เอาต่อไปคราวหน้า กล่าวถึงอินทรีย์ ๕ พละ ๕ จะได้เข้าใจความสัมพันธ์ที่เรียกว่าอินทรีย์ คือ ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และ ปัญญา อินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ พละ คือ ความไม่หวั่นไหว
กล่าวถึงหลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล ที่มีการแจกหนังสือไปคราวที่แล้วที่ว่าใคร ๆ ก็บรรลุธรรมได้ ถ้ารู้วิธีอาจเรียกว่าธรรมฐานน้ำเย็นก็ได้ ท่านว่าอย่างนี้ให้ดื่มน้ำเย็น แก้วใหญ่ ๆ แล้วตามความเย็นลงไป ตามความเย็นลงไปแล้วสิ้นสุดที่ไหนในท้อง แล้วก็ไปเย็นอยู่ในกระเพาะ ความเย็นสุดอยู่ตรงไหนเราจ่อสติของเราไว้ตรงนั้นตรงที่น้ำเย็นไป ก็อยู่ตรงนี้ใกล้ ๆ สะดือในท้อง ถ้าเป็นกลางตัวให้ดึงลงไปไว้ตรงนั้นตรงจุดนี้ ท่านบอกว่าเป็นภายในร่างกายมันอยู่ตรงกลางร่างกาย สามารถดึงจิตเอาไว้ไม่ให้ออกไปภายนอก เพราะจิตจะเคยกับการแซ่ออกไปภายนอกไปรับรู้ภายนอก ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แล้วก็ทางใจ วันหลังผมอธิบายให้ฟังทางใจอย่างไร รับเข้ามาเกิดเวทนา เกิดความพอใจ ไม่พอใจ อะไรต่าง ๆ นา ๆ ออกไปเรื่อย ๆ ก็ไปข้างนอก ก็ไม่อยู่ในเนื้อในตัว เพื่อดึงจิตไว้พภายในตัว ลมหายใจมันปริ่ม ๆ มันดี ถ้าลมหายใจอยู่ข้างนอกมีนหลุดออกไปง่าย ถึงมันไว้ในท้อง ไม่อย่างนั้นลมหายใจก็ได้ พอลมหายใจเข้าก็ตามมันไป ตามลมหายใจเข้าดันเข้าไปให้ไปถึงในท้องจนสุดจะอยู่ใกล้สะดือให้นึกถึงสะดือให้นึกถึงแม่เป็นรอยต่อชีวิตจากแม่มาที่เรา ใคร ๆ ก็รู้จักสะดือตรงนั้นดี สติให้อยู่ตรงนั้นให้รู้อยู่ตรงนี้ตามที่ท่านได้กล่าว ไม่นานหรอกประมาณ ๕ - ๑๐ นาที พอรู้อยู่ตรงนี้ รู้สึกเกิดความว่าง ความสว่าง เกิดขึ้น จิตก็จะรู้อยู่ตรงนั้น สติกับสมาธิไปร่วมอยู่จุดเดียวกัน รู้จุดเดียวก็เป็นสมาธิ ถ้าตามรู้จะเคลื่อนไปอย่างไรตรงนั้นเป็นสติ ตกลงกับสมาธิก็ไปร่วมอยู่จุดเดียวกันที่ตรงนี้ในท้อง พอจิตเกิดความสงบแล้ว ไม่แส่ไปรับจากภายนอก จิตก็สงบที่จิตไม่สงบวุ่นอยู่ตลอดเวลา แล้วรู้สึกหนักมาก มันแส่ไปรับอารมณ์จากภายนอกตลอดเวลา แล้วก็นำมาปรุงแต่ง พอมีการปรุงแต่งอะไร ๆ ก็เข้าไปเยอะ เดียวจะพูดตอนธรรมาธรรมะสงครามภายในตัว ตรงนี่เองท่านใช้วิธีนี้ ท่านไม่รู้หนังสือ ไม่รู้ทฤษฎีอะไรทั้งนั้น หลวงปู่ดูลย์สอนให้ภาวนา ภาวนาไป ๒ วัน บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เลยหมดกิเลสโดยสิ้นเชิงมีความสุขในเนื้อในตัวตลอดเวลา ตั้งแต่อายุ ๒๐ ปีจนกระทั่งถึงป่านนี้ ไปลองดูเองเพาะแต่ละคนมีจริตชอบไม่เหมือนกัน ต้องมีการศึกษาหลาย ๆ วิธีแล้วลองดูวธีไหนจะถูกจริตกับเรา อันนี้เป็นวิธีหนึ่งที่ดัดแปลงไปจากวิธีคลาสสิก ๑๖ ขั้นตอนอย่างที่ว่า อันนี้ถือว่าลัดตรงเลย อันอื่นอาจจะต้องเดินทางไกล อันนี้เดินใกล้ ไปตรงนี้จิตอยู่ที่ตรงนี้ จะต้องลองหลายวิธี เพื่อที่จะมาบอกหลาย ๆ วิธีด้วยกัน ตรงนี้และพระวัดป่าสายอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ทั้งหมดเลยใช้คำหนึ่ง คือ ผู้รู้ หมายถึง จิตรู้ ว่ามันรู้ ปกติจิตมันคิด ปกติเราอยู่สนจิตคิด ปกติจิตคิดจิตไม่ได้คิดเดียวจะอธิบายให้ฟังว่าจิตคืออะไร แต่ว่าจะไปอยู่ตรงนั้นที่เรียกว่าสังขาร ผู้รู้ คือ รู้ จะมี ๓ ตัว ผู้รู้ การรู้ และสิ่งที่ถูกรู้ ท่านจะใช้คำว่าผู้รู้ คือ จิต ธรรมชาติของจิตคือรู้ เป็นธาตุรู้ มาถึงจิต คือ อะไรเป็นโอกาสที่จะกล่าวถึงตรงนี้ จิตเป็นธาตุรู้ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษเรียกว่า consciousness ที่รู้อยู่นี้ ธาตุรู้ คือ จิต เป็นรู้ ตัวอื่นเวลาเรากล่าวถึงเบญจขันธ์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (๑) รูป คือ ร่างกาย (๒) เวทนา คือ สุข ทุกข์ ชอบ ไม่ชอบ (๓) สัญญา คือ การจำได้หมายรู้ (๔) สังขาร คือ การปรุงแต่ง และ (๕) วิญญาณ คือ จิต เป็นการรู้แจ้งถึงสิ่งต่าง ๆ ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อะไรที่เร็วกว่าแสงตอนหลังก็มี quantum มีอิเล็กตรอนสองตัวแยกตัวกันออกไป มันรู้ถึงกันตลอดวเลา พฤติกรรมนี้เป็นอย่างไร และมีการวัดดูแล้วระยะทางที่ห่างกันความเร็วของแสงซึ่งควอนตัมมีความเร็วกว่าแสงมีธรรมชาติที่เชื่อมโยงกันเร็วกว่าแสง เขากำลังสร้างทฤษฎีซุปเปอร์สติงส์ ตอนหลังจะมาพูดเรื่องศาสนาควอนตัม วิทยาศาตร์ควอนตัม สังคมควอนตัม เป็นสามเหลี่ยมควอนตัม ครั้งหลัง ๆ จะพูดวิทยาศาสตร์กับศาสนามันเจอกันเดียวต้องกลับมาก่อน
จิต ที่เรียกว่า “รู้” คือ consciousness คือ ตัวรู้ เหมือนที่เรานอนหลับเราก็ไม่รู้ ไม่ conscious หรือวางยาสลบเราก็ไม่รู้หรือว่าเราตายเราก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น คือ จิตตัวนี้มันรู้ มันรู้เฉย ๆ เดียวมีตัวอื่นเข้ามาปลอมเข้ามา ที่เราไปรวมเรียกว่านาม รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่านาม และมีรูปกับนาม บางครั้งเราก็กล่าวว่านาม คือ จิต ถ้าแยกออกมาดู เป็นตัวเดียวที่เป็นจิต คือ ตัวรู้ แต่ความรู้สึกสุข ทุกข์ ชอบ ไม่ชอบ คือ เวทนา สัญญา คือ ความจำ สังขาร คือ ความคิด ปรุงแต่ง เป็นตัวประกอบจิต เรียกว่า เจตสิก หรือเป็นกริยาของจิตก็ได้ ชอบไม่ชอบ จำ ปรุงแต่ง แต่ตัวจิตจริง ๆ คือ ตัวรู้ เพราะฉะนั้นผู้รู้ คือ จิต เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูด ถ้าอ่านหนังสือทางกายท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หรือของหลวงพ่อเยื้อน จะกล่าว่าไปตามหาจิต จิตอยู่ที่ไหนเพราะว่าโดนพวกเจตสิก ที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ครอบคลุมหมดจนมองไม่เห็นตัวจิตเดียวมาสางกัน แต่ตัวจิต คือ ผู้รู้ คือการรู้เพราะฉะนั้นไปอ่านของหลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล ท่านจะกล่าวถึงเรื่องการตามจิตว่าจิตอยู่ที่ตรงไหน ตั้งฐานจิตไว้ตรงที่ว่านี้ ให้จิตมันมีฐานจะได้อยู่ที่นั่น คือ ผู้รู้ พอรู้ไปนาน ๆ จะกันพวกมารที่เข้ามาทำให้ไม่รู้ ทำให้เกิดอวิชชา มีคำหนึ่งที่เขาเรียกว่าจิตเดิมแท้ หรือจิตประภัสสร ทางหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มีการกล่าวถึงอยู่บ้าง หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล มีการกล่าวถึงนิดหน่อย แต่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มีการกล่าวถึงไว้มาก บางที่ท่านเรียกว่าจิตต้นหรือต้นจิต หรือปฐมจิต ในทางมหาญาณมีการเกี่ยวถึงเยอะมาก เรื่องเว่ยหล่าง เรื่องฮวงโป ที่ท่านอาจารย์พุทธทาสได้มาแปลไว้เป็นหนังสือเก่ามาก จำนวน ๒ เล่ม เว่ยหล่าง กับฮวงโป กล่าวถึงจิตเดิมแท้ หรือจิตประภัสสร ว่าจิตเดิมแท้จริง ๆ มันประภัสสรมาก ยังบริสุทธิ์ ยังไม่ถูกการ contaminate ด้วยอุปาทานขันธ์ ๕ จิตเดิมแท้ เพราะฉะนั้นที่ท่านกล่าวถึง จิตผู้รู้ คือ จิตเดิมแท้ เมื่อกล่าวถึงท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีหนังสือเล่มหนึ่งอาจจะอ่านยากนิดหนึ่ง แต่มีอาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ ช่วยอธิบายอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นผู้เขียนเอง ด้วยลายมือชื่อว่าขันธวิมุติสมังคีธรรม ที่สวนโมกข์ลองหามาไว้ “ขันธวิมุติสมังคีธรรม” ท่านเขียนด้วยลายมือและเล่าเรื่องพวกนี้ซึ่งเป็นการต่อสู้เดียวกำลังจะกล่าวถึง แต่อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ มีการอธิบายไว้ดีมาก อธิบายเก่งมากตรงนี้ ไม่แน่ใจว่าใครพิมพ์หรืออาจมีกลุ่มหนึ่งที่มีการพิมพ์ไว้เป็นการกุศลจำไม่ได้ ลอง ๆ เช็คดู จะได้เห็นในรายละเอียดที่ตรงนี้ ว่าจิตต้นหรือจิตเดิมแท้มันต่อสู้กับความรู้นึกนึกคิด ถ้ารวมความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึก คือ เวทนา ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ นึก ก็คือ สัญญา จำได้หมายรู้ คิด คือ สังขาร อาจจะพูดอย่างนั้น ความรู้สึกนึกคิดมันเข้ามาตรงนี้ด้วยอุปาทานขันธ์ ๕ ทำให้จิตตัวนี้หาไม่เจอ มันปกคลุมจิตหมด เหมือนมลภาวะเข้ามา ไม่เห็นจิตเดิมแท้ เพราะฉะนั้นการเจริญสติ เพื่อตามหาจิต จิต คือ ตัวนี้ ไม่อย่างนั้นเราจะไม่เข้าใจ เพราะเราจะบอกว่านาม ก็คือ จิตอยู่แล้ว แต่จิตเดิมแท้เป็นเฉพาะผู้รู้ และการรู้ คือ สติ รู้อยู่กับปัจจุบัน พอมีการรู้อยู่กับปัจจุบันอะไรก็ทำอันตรายไม่ได้ เราก็มีความสุขมาก คนที่เจริญสติจะเจอความสุขที่ไม่เคยเจอมาก่อนเลย มันปรงภาระหนักออก ขันธ์ ๕ เป็นภาระที่ทำให้จิตหนัก พอปลงออกก็จะเกิดความเจริญรู้สึกเบามาก เบามีความสุข ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เพราะฉะนั้นก็พยายามเจริญสติไว้ อาจจะล้มคลุกคลานสำหรับคนเริ่มต้น แต่พยายามเข้าไว้ อาศัยวิริยะ ตอนหลังมีการกล่าวซ้ำอีกตรงนี้ พยายามไว้ พยายามไว้ จะได้เจอทิพยสมบัติ เหมือนเราต้องการทิพยสมบัติ เราต้องมีความพยายาม ล้มเหลวอย่างไรก็ต้องมีความพยายามไปเรื่อย ๆ แล้วจะสำเร็จ อันนี้ คือ วิริยะ ยกตัวอย่างอุปมาอุปไมยเพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสติ สมาธิ ปัญญา ก็มีผู้เปรียบเทียบไว้ จิตเหมือนโคทึกหรือโคป่าที่มีการดิ้นรนตลอดเวลาเลย ที่จริงมันยิ่งกว่าโคป่าอีก มันเร็วมาก ดิ้นรนตลอดเวลา ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ เหมือนเอาโคกมาผูกเชือกไว้ที่คอ แล้วผูกกับหลัก แล้วปักหลักไว้ หลักก็มีเชือกล่ามไว้ที่วัวที่ควาย โคป่า คือ จิตดิ้นรน แต่ไปทางไหนมันจะวิ่ง ๆ ก็วนไปเชือกก็ตามมันไป อันนั่นคือสติ เห็นหรือยังว่าเชือกจะตามมันไปเรื่อย ๆ มันยังมีดิ้นรนไปเรื่อย ๆ เป็นสติ คราวนี้ไปหนักเข้ามันจะเหนื่อย มันจะหยุดนิ่งนอนมอบอยู่จุดเดียว นิ่งแล้วเชือกก็ยังผูกอยู่ ตรงนั้นคือสมาธิแล้ว มันหยุดอยู่ที่จุดเดียว พอหยุดวิ่ง พอสงบ ก็เป็นการเปิดโอกาส ให้ไปตรวจดู ว่าวัวป่วยตรงไหน มีพยาธิสภาพตรงไหน อะไรแต่อะไรถ้ามันวิ่งตลอดก็ไปตรวจมันไม่ได้ ป่วยก็ตรวจไม่ได้ อันนั้นเป็นปัญญาไปตรวจสอบจิตแล้วตรงนั้น เพราะฉะนั้นตรงนี้ เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสติ สมาธิ และปัญญา เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นเครื่องมือของเราหรือเป็นหัวใจของพุทธธรรม เป็นหัวใจของการเข้าถึงความจริง ไม่อย่างนั้นเราเข้าถึงความจริงไม่ได้ วิทยาศาสตร์ที่บอก evidence base objectivity จริง ๆ แล้วก็ไม่จริงเพราะว่าจะมีอคติส่วนตัวเข้าไปเสมอ เข้าไปร่วม การเข้าถึงความจริง ต้องมีสติถึงเข้าถึงได้ เข้าถึงไม่ได้ด้วยการคิดด้วยเหตุผลเข้าถึงไม่ได้ ต้องมีสติ จิตนิ่ง และสัมผัสกับความจริงโดยตรง ตรงนี้เราต้องเข้าใจแม้แต่การปฏิบัติธรรมเราจะหลุดไปตรงนี้ได้อย่างไร ตรงนี้ต้องเข้าใจว่าความรู้เรื่องปัญญามันมี ๓ อย่าง (๑) สุตมยปัญญา คำว่า “มย” แปลว่าใหม่หรือว่าโดยทาง คำว่า “สุ-ตะ” แปลว่าฟัง สมัยโบราณมีแต่การฟังเท่านั้น ไม่มีการเขียน ไม่มีการอ่าน สุตมยปัญญา หมายถึง การรับข้อมูล แต่สมัยนี้ก็หมายถึงทุกด้าน จากการอ่าน หรือจากคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต อะไรก็แล้วแต่ อันนั้น คือ สุต อาจจะเรียกว่าปัญญาขั้นต่ำสุด และยังอยู่นอกตัวอยู่ เป็นเรื่องข้อมูล ความรู้ (๒) จินตามยปัญญา คำว่า “จินดา” เป็นการคิดด้วยเหตุผล การคิดด้วยตรรกะ จินตามยปัญญา คือ เป็นความรู้ที่เกิดจากความตรึกนึกคิด ความพินิจ ความคิดด้วยเหตุผล ด้วยตรรกะ อันนี้ คือ ด้วยวิชาการ คือ วิทยาศาสตร์ จะอยู่ที่ตรงนี้ แต่ยังคงเป็นสิ่งนอกตัว การคิดด้วยเหตุผลนำมาให้เข้าใจความจริงในตัวไม่ได้ เพราะว่าการคิดเป็นเหยื่อของอคติต่าง ๆ เข้ามา เพราะการคิดไม่ได้เพรียว เพราะว่าการคิดหรือการปรุงแต่งมีอุปาทาน มีตัณหา ทีอะไรอยู่ในนั้นจำนวนมาก เข้าไม่ถึงความจริง ความจริงภายในตัวเข้าไม่ได้ด้วยการคิดต้องโดยจิตที่นิ่ง ก็เจริญสติ และความสัมผัสกับความจริงโดยตรงเกิดขึ้นในเนื้อในตัว เรียกว่า ภาวนามยปัญญา การภาวนาอาจมีความเข้าใจผิดว่าเป็นการพึมพำ ภาวนา แปลว่า การปฏิบัติหรือการพัฒนา development การทำจริง ๆ เป็นปฏิบัติสติปัญญา เป็นปัญญาเกิดในเนื้อในตัว ถ้าสังเกตดูอีก ๒ อัน มันยังอยู่นอกตัว มันยังไม่ใช่ของเรา ข้อมูลก็ตาม หรือวิชาการก็ตาม ข้างนอกต้องระวังเวลาการศึกษาธรรมะ การศึกษาถ้าไม่ระวังมันคือเป็นจินตามยปัญญาเป็นความรู้ที่ได้มาจากการจัดหมวดหมู่ไป classify ไปทำอะไรมา และอธิบายก็อย่างนั้น และพระไทยที่เรียนเปรียญธรรมก็เป็นอย่างนั้น เรียนทฤษฎี เรียนวิชาการ แต่ไม่ใช่ภาวนามยปัญญาที่เกิดในตัว แม้การเจริญสติ คือ ภาวนา ที่เขาเรียกว่าสติภาวนา การภาวนาเริ่มต้นคือการเจริญสติ เพราะฉะนั้นต้องระวังตรงนี้ ถ้าเราเข้าใจธรรมะแบบเพียงทฤษฎีเท่านั้น คือ จินตามยปัญญา เรายังเข้าไม่ถึง ไม่สามารถมาปลดปล่อยเราเป็นอิสระได้ ตรงนี้ต้องค่อยระวังไว้ และมีข้อระวังอื่นที่ต้องระวัง พูดต่อมาถึงแม้ว่าเจริญตรงนี้แต่ก็ไปติดได้ เวลาเกิดความสุขมันจะเกิดความสุขเป็นขั้นตอนที่มันเกิด เป็นขั้นตอนที่ ๕ ในอานาปานสติตอนที่ ๕ เขาเรียกว่าปีติ และในขั้นตอนที่ ๖ คือ ปีติแล้วก็สุข ตอนนั้นมีเสน่ห์มาก เกิดปีติเกิดสุขในตัว คนก็ไปติดใจอยู่ตรงนั้น มันก็ต่อไม่ได้ เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส เป็นกิเลสแล้วติดอยู่ตรงนั้น วันหลังจะมีการกล่าวถึงในตรงนี้ เวลากล่าวถึงอานาปานสติ ๑๖ ขั้นตอนซึ่งผมจะกลับมาที่หลัง เอาให้มีประสบการณ์และค่อย ๆ เข้าไปเรื่อย ๆ ก่อน พูดเร็วไปแล้วจะยาก เป็นการเพื่อสร้างความเข้าใจ เข้าใจว่าตรงนี้มีความชัดเจนพอสมควรว่าจิตคืออะไร เจตสิกคืออะไร จิตเดิมแท้หรือจิตประภัสสรคืออะไร แล้วก็ไปหาหนังสืออาจารย์พุทธทาส เว่ยหล่าง กับฮวงโป อันนี้เป็นมหาญาณ จะเน้นเรื่องจิตเดิมแท้มาก จิตประภัสสรตรงนี้ แล้วจิตมีความประภัสสรจริง ๆ จิตที่ไม่มีมลภาวะมาครอบคลุม เป็นจิตที่แจ่มใส สว่าง ท่านอาจารย์พุทธทาสถึงใช้คำว่า “สะอาด สว่าง สงบ” เป็นลักษณะที่ตรงนี้
พอมาถึงเรื่อธรรมาธรรมะสงคราม สงครามในจิตใจของคนเป็นสงครามที่ใหญ่มาก ที่ทุกคนต้องเข้าสู่สงครามความคิดตรงนี้ เพราะถึงเราไม่เข้าข้าศึกก็เอาเราเป็นทาสอยู่ดี อย่างไรเราต้องเข้าตรงนี้ ตรงนี้ ทำให้นึกไปถึงมหากาพย์ของอินเดีย มหากาพย์เป็นวรรณคดีใหญ่ ของอินเดียมี ๒ มหากาพย์ คือ มหาภารตยุทธกับรามเกียรติ์ถือเป็นมหากาพย์ของอินเดียมี ๒ ด้วยกัน ถ้าถามว่าของไทยมีไหมก็ไม่น่าจะมีนะ
มหาภารตยุทธ มันใหญ่จริง ๆ มันยาวที่สุดมีตัวละครมากที่สุด และละครซ้อน ๆ กันอยู่ในนั้นทมยันตรี สาวิตรี พระนนท์ ซ้อนอยู่ในนั้นเลยคนแต่งนี้แต่งเก่งจริง ๆ ฤาษีวยาส เป็นคนแต่ง แต่ชื่อเป็นสงครมมหาภารตยุทธ ที่อรชุนฝ่ายปาณฑพรบกับฝ่ายเการพ เป็นญาติกันมาเผชิญหน้ากันรบกันที่ทุ่งกุรุเกษตร คำว่า “เกษตร” แปลว่าเขต พระกฤษณะ คือ พระพุทธเจ้า สอนอรชุณอย่าลังเลใจให้เข้าสู่สงคราม เข้าสู่รบอย่าได้ลังเลใจ เพราะอรชุณถอดใจแล้วว่าจะไม่รบเพราะรบกับญาติทั้งนั้น ครูบาอาจารย์ทั้งนั้นเลยที่ทตั้งทัพกันอยู่ แล้วจะไปรบกันอย่างไร ไปรบกับญาติ รบกับครูบาอาจารย์ได้อย่างไร ถอดใจไม่ยอมรบพระฤษณะเป็นสารถี มาเร่งอรชุณว่าอย่าลังเลใจให้เข้ารบ คนก็บอกว่านี่เป็นกระหายสงคราม ที่จริงเป็นสงครามภายใน แต่เขียนไว้เหมือนสงครามภายนอก ถ้าไม่มีคนมาช่วยคนก็เข้าใจว่าเป็นสงครามภายนอก แต่มีท่านปรมหังสะ โยคานันทะ ท่านเก่งมาเป็นโยคี ไปสอนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ ค.ศ ๑๙๒๐ เก่งมาก และเขียนหนังสือไว้น่าอ่านมาก ผมบอกให้ ศ.นน.วิจารณ์ พานิช ไปอ่านอ่านแล้ววางไม่ลงชื่อ “อัตชีวประวัติของโยคี” อัตชีวประวัติของโยคี = Autobiography of a yogiและเขียนภควัทคีตาอีกหลายเล่ม ท่านอธิบายเก่งมาก จะรู้ว่าเป็นสงครมภายใน ธรรมาธรรมะสงคราม คือ สงครามภายในจิตใจของเราทุกคนเลยตรงนี้
ธรรมาธรรมะสงคราม คือ สงครามในใจของคนถ้าเข้าใจตรงนี้เหมือนรู้ตัวว่าศรัตรูคือใคร กำลังต่อสู้อยู่กับใคร จะมีความชัดเจนขึ้น จะมีความง่ายขึ้น ถ้ารบโดยไม่รู้ว่าศัตรูคือใครมันยากมาก ตรงนี้ผมเขียนไว้นานแล้วประมาณ ๒๐ กว่าปีแล้ว แล้วพูดเรื่องวิกฤตการณ์คลื่นลูกที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นวิกฤตการณ์ที่ยากที่สุดไม่มีคนเข้าใจ ผมถือว่าวิกฤตการณ์รัตนโกสินทร์มี ๔ ลูก ลูกที่ ๑ คือ สงครามเก้าทัพ พม่ายกมาน่ากลัวมากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ประมาณ ๑ – ๒ ปียกมาแล้วเก้าทัพทุกทิศทุกทางน่ากลัวมากเป็นวิกฤตเลย ว่าจะสู่อย่างไร วิกฤตการณ์ลูกที่ ๒ คือ มหาอำนาจตะวันตก เข้ามารุกรานน่ากลัวมากตอนนั้น อำนาจมหึมาเลยเข้ามารุกราน พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ถึงกับช็อกป่วยเลย ท่านก็นึกว่าจะเอาตัวไม่รอด ท่านช็อกมากกลัวรักษาแผ่นดินไม่ได้ท่านแต่งโคลงไว้ว่ากลัวเหมือนทวิราช ไม่สามารถรักษาประเทศชาติไว้ได้ ทวิราช คือ พระเจ้า ๒ องค์ คือ พระเจ้าเอกทัศน์กับพระเจ้าอุทุมพรที่เสียกรุง ไม่สามารถรักษากรุงไว้ได้ เพราะมีความหนักหนาเหลือเกินท่านป่วยเลย ภายหลังจากนั้นไม่ทรงมีพระราชโอรส พระราชธิดาอีก เรียกว่าช็อกจนเป็นหมันเลยตอนนั้น มันรุนแรงมาก ต้องไปดูประวัติศาสตร์ว่าคนไทยเก่งมากสามารถเอาตัวรอดได้ประเทศเดียว อินเดีย พม่า เวียดนาม ลาว เขมร มาเลเซีย ฯลฯ หมดเลยไม่เหลือ จีนก็แพ้ แต่ไทยเอาตัวรอดมาได้ จริง ๆ ไทยมีศักยภาพตรงนี้ แต่บางที่คนไทยไม่รู้มันมีอะไรในวัฒนธรรมไทย ที่ทำให้เก่งที่ตรงนี่ ลูกที่ ๓ เรื่องความขัดแย้งคอมมิวนิสต์ นักศึกษา ปัญญาชนไทย เข้าป่าไปจับอาวุธ ไปจอยกับคอมมิวนิสต์ จับอาวุธขึ้นต่อสู้ อำนาจรัฐ และฆ่ากันตายระหว่างคนไทยด้วยกันทุกปีเลย หลายปีติดต่อกัน ตรงนี้เป็นตัวอย่างว่าคนไทยถึงเวลาวิกฤตไม่มีทางออก มันใช้พลิกวิธีคิด พลิกวิธีคิดอันนี้เป็นหลัก ถ้าเจอวิกฤตจนไม่มีทางออก คือ พลิกวิธีคิด คำสั่งนายกรัฐมนตรี ๖๖/๒๕๒๓ ออกมายุติทันทีเลยต้องชมกองทัพเป็นผู้ดำเนินการ อันนี้เป็นการพลิกวิธีคิด คำสั่งนายกรัฐมนตรี ๖๖/๒๕๒๓ บอกว่าคนที่จับอาวุธขึ้นต่อสู้อำนาจรัฐไม่ใช่ศัตรู แต่เป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เมื่อไม่ใช่ศัตรูก็ไม่ต้องสู้กันก็ยุติการต่อสู้เลย แล้วคืนเมืองมา พวกอดีตคอมมิวนิสต์คืนเมืองมามาเป็นอาจารย์ อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี อาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อาจารย์อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ก็เคยเข้าป่าเยอะแยะไปหมด และมาเป็นรองนายกรัฐมนตรีก็มี นายพินิจ จารุสมบัติ เข้ามาเป็นนักการเมือง นักวิชาการ นักธุรกิจก็มี เรียกว่าหายไปไม่มีตะเข็บเลยกลืนกันเข้าไปหมดเลย คราวหนึ่งผมไปประชุมสมาคมสังคมศาสตร์ มีการรับประทานอาหารกลางวันที่โต๊ะนั้น ผมสังเกตดูและมีความอัศจรรย์ใจมาก ที่โต๊ะรับประทานอาหารกลางวันก็มีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประทับอยู่มีอาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อาจารย์ชัยอนันต์ฯ ร่วมโต๊ะอยู่ ผมบอกว่าประเทศไทยมีความมหัศจรรย์จริง ๆ ลีกวนยูบอกว่ามีแต่คนไทยเท่านั้นที่ทำได้แบบนี้ วันหลังผมมาวิเคราะห์ให้ฟังว่าทำไมทำได้ คลื่นวิกฤตลูกที่ ๔ คือ วิกฤตการณ์ปัจจุบันซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ความซับซ้อนไม่เหมือนที่แล้วมาเป็น compactly crisis ไม่มีคนเข้าใจมัน ไม่รู้ว่าศัตรูอยู่ที่ไหน วิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตอะไร วิกฤตพลังงาน วิกฤตร้อยแปดต่าง ๆ นา ๆ มันมีความซับซ้อนมาก มันออกไม่ได้แล้วคราวนี้อยากที่สุดแล้วตรงนี้ ไม่รู้ศัตรูคือใคร แล้วผมว่าดีไม่ดีศัตรูคือตัวเอง ถ้าเรารู้ว่าศัตรูคือใคร เราจะกำหนยุทธศาสตร์ต่อสู้เอาชนะได้เสมอ พม่ามันมาเราก็รู้แล้ว ศัตรูมีความชัดเจนเดียวมันก็อยู่ไม่ได้แล้ว ก็กำหนดยุทธศาสตร์แล้วครั้งโบราณจะตรงไปตรงมาใครขยันไม่มีอบายมุขก็ไม่จน แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้วขยันไม่มีอบายมุขก็อาจจะจนหมดเนื้อหมดตัวมันเกิด infarction ทั้งที่ตัวเองก็ไม่ได้ทำแต่คนอื่นทำมามาจากที่อื่นเพราะระบบที่ซับซ้อนเดินมาตามระบบที่มีความเชื่อมโยงกันแล้วมีการขยายผลที่เขาเรียกว่า butterfly affect เพราะฉะนั้นคนก็จะไม่เข้าใจไหนว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นี่เราก็ไม่ได้ทำชั่วอะไร แต่ทำไมเราได้รับผลร้ายเยอะไปหมดเลยไปดูไม่เข้าใจเพราะว่ามันเดินมาตามระบบที่เชื่อมโยงกัน เพราะฉะนั้นตอนนี้ที่เรากำลังเผชิญอยู่ คือ ความซับซ้อน เครื่องมือเก่า ๆ ใช้ไม่ได้ผลหรอก เครื่องมือเก่า ๆ คือ อำนาจ เงิน การวิพากษ์วิจารณ์ ความรู้สำเร็จรูป ใช้ไม่ได้ผล ต้องรู้ว่าเราต้องการเครื่องมือใหม่ที่ตรงนี้ กำลังดิวกับตัวนี้อยู่และเข้าใจว่าสามารถตีประเด็นแตกที่ตรงนี้ ถึงได้พูดโลกธรรมบรรจบกันที่ประเทศไทยตอนนี้ และมานำบรรยายในตอนหลัง ตีประเด็นยาก ๆ เหล่านี้
กลับมาธรรมาธรรมะสงครามภายในใจ ฝ่ายหนึ่ง คือ จิต คือ “ผู้รู้” คือ จิต คือฝ่ายธรรมะ ฝ่ายที่จะมาโจมตี คือ อุปาทานขันธ์ ๕ มันด่าหน้ากันเข้ามามีหัวหน้า คือ สังขารนำมา ตอนนั้นมาร้อยแปดเลย เวทนาเข้ามาเพราะมีการรับเข้ามา พอใจไม่พอใจ เวทนาเกิดตัณหา เกิดตัณหา เกิดอุปาทาน เป็นกองทัพมารเลยเข้ามาเผชิญหน้ากัน ยืนอยู่ตรงนี้ คือ จิต จิตรู้ คือ ผู้รู้ อีกพวกหนึ่งคือมาร เพราะฉะนั้นเวลาพระพุทธเจ้ากล่าวถึงมารบางครั้งท่านก็ตรัสเสนามาร กองทัพมาร เพราะท่านต้องต่อสู้กับสิ่งเหล่านี้ สุดท้ายก่อนที่จะบรรลุธรรมว่ากองทัพมารมาสู้ได้หรือเปล่าตอนนี้ คือ สิ่งเหล่านี้ จะทำให้เข้าใจตรงนี้ แล้วอย่างสัญญาเป็นตัวแสบเลย เพราะคลังความจำ มีการจำอะไรไว้เยอะมากแล้วคอยปล่อยออกมา แล้วไม่รู้ว่าปล่อยเรื่องอะไรลองสังเกตดู บางครั่งอยู่ดี ๆ ไม่ได้เห็นเรื่องอะไร ไม่ได้ยินอะไร แต่สัญญา คลังความจำปล่อยเข้ามาสู่การคิดของเรา คิดถึงเรื่องคนนั้นคนนี้ เหตุนั้นเหตุนี้ แล้วก็ไม่รู้ปล่อยเรื่องอะไรเข้ามา เหมือนคนนอนหลับแล้วฝัน นั่นแหละมันคล้าย ๆ อย่างนั้น ไม่รู้ว่าฝันหรือว่าอะไร ฝันทำไมต่าง ๆ ไม่มีเหตุผล ไม่มีอะไรก็มีเรื่องฝัน เพราะฉะนั้นตัวสัญญาความจำของเราระหว่างที่เรากำลังเจริญสติ จะสังเกตเห็นเลยการเจริญสติทำให้เราเห็น เดิมเราจะไม่รู้หรอก มั่วมากกองทัพมารมีเต็มไปหมดเลย แล้วไม่รู้อะไรเลยก็จะเป็นเหยื่อทุกวันนี้ตามชีวิตธรรมดาจะไม่มี freedom เป็นทาส วันหน้าจะบรรยายเรื่อง freedom ของฝรั่งทำไหมถึงล้มเหลว เพราะว่าไม่ใช่ freedom จริง เราตกเป็นทาสของเหล่านี้ ถูกจับเป็น prisoner ของเขาอยู่ทำให้เราไม่รู้ไม่เห็นอะไรเลยเป็นนักโทษเขา แต่ว่าเวลาการเจริญสติจะเห็นเพราะรู้อยู่กับปัจจุบัน เราก็จะเห็น ใครเป็นใครอะไรเป็นอะไร จะเห็นเลยเวลาเจริญสติอยู่ เรื่องนั้นเรื่องนี้จะโผล่เข้ามาโดยไม่มีเหตุผล ไม่อยากนึกถึงมันเลย นึกถึงคนนั้นคนนี้ นึกถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้โผล่เข้ามาเองในนั้น นั่นเป็นสัญญา เป็นตัวแสบเลยที่คอยปล่อยอะไรเข้ามา ถ้ารู้ไม่ทันก็โดนสังขารปรุงแต่งเข้ามา แล้วก็มาต่อสู้กับธาตุรู้เกิดขึ้น จิตรู้อันนี้คือฝ่ายธรรมะ อีกฝ่ายจะเรียกว่าฝ่ายอธรรมก็ได้ มีกิเลส ตัณหา อุปาทาน มากันเป็นทิวเข้ามาเกิดการสู้กัน ล้มลุกคลุกคลาน บางครั้งเราก็ล้มเหมือนกันเวลาเจริญสติถ้ายังไม่แข็ง สังเกตดูอย่างนี้ก็ได้ เวลาเราคิดว่าเราเจริญสติ สมมุติได้ยินคนที่รู้จักหรือเป็นญาติได้ข่าว่าเขาเสียชีวิต จิตเราจะล้มวูบไปเลย เสร็จแล้วเห็นเลยวูบเดียวมันจะตั้งเลยเหมือนตั้งขึ้น พอตั้งสติได้จะหาย ไม่อย่างนั้นใจเสีย สังเกตดูได้ข่าวว่าเพื่อนเสียชีวิตจะมีทุกคนเลยมีเพื่อนหรือคนรู้จักเสียชีวิต จิตมันวูบถ้าเราไม่มีสติไปใหญ่เลย เกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นทุกข์ ความประจวบกับสังขารหรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ความ พลัดพรากจากสังขารหรือสัตว์อันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความไม่ได้สมปรารถนา วันหลังจะแยกคำเหล่านี้ ท่านได้บรรยายไว้ในความทุกข์ของคนท่านก็บรรยายแบบนี้ โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ สัพพะวันติ คำว่า “สัพพะวันติ” แปลว่าเกิดขึ้นพร้อม คำว่า “โสกะ” แปลว่า ความโศกเศร้า คำว่า “ปะริเวทวะ” แปลว่า ความคร่ำครวญ “ทุกข์” คือ ทุกข์กาย คำว่า “โทมนัส” แปลว่าทุกข์ใจ คำว่า “สุปายาสา” แปลว่าคับแค้นใจ เกิดขึ้นพร้อม เวลาสังเกตดู ยังไม่กล่าวถึงจติจสุบุกกากบาทที่เต็มสายของมันจำนวน
๑๒ ขั้นตอน ที่จริงค่อย ๆ เอาเป็นช่วง ๆ แล้วค่อยนำมาต่อกันจะได้เข้าใจ ถ้าพูดไปเลยตอนแรก ๆ ก็จะไม่เข้าใจ ที่เริ่มตั้งแต่แรก อวิชชาปัจจยาสังขารา อวิชชาเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดสังขารการปรุงแต่ง ทางลัดไปเลย สังขารทำให้เกิดความทุกข์ เพราะฉะนั้นตัวที่ทำให้เกิดความทุกข์ คือ อวิชชา คือ ความไม่รู้ ถ้าเกิดว่าจะเริ่มต้น chain ของความทุกข์ ผมจะบรรยายให้ฟังใน ๑๒ ขั้นตอน ถ้าไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไรวันหลังกลับมาใหม่
อวิชชาปัจจยาสังขารา ความไม่รู้เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการปรุงแต่ง สังขาราปัจจยาวิญญาณั
สังขารทำให้เกิดวิญญาณการรู้ วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง นามรูปทำให้เกิดชีวิต ถ้าชีวิตมีแต่รูปแต่ไม่มีวิญญาณ มันก็ไม่เป็นชีวิต มันไม่รู้มันเหมือนก้อนหิน วิญญาณ คือ ธาตุรู้ ทำให้เกิด นามะรูปัง คือ ชีวิต คือ นามรูป ในนามรูปมีอายตนะ ๖
นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะ ๖ คำว่า “สะฬา” แปลว่า ๖ อายตนะ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คำว่า “ใจ” วันหลังอธิบายให้ฟัง ใจที่ทำหน้าที่ตรงนี้เขาเรียกว่ามโน พอมาถึงเกิดอายตนะ ๖
สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส อายตนะ ๖ ทำให้เกิดสัมผัส ที่เรียกว่าผัสสะ คือ ๓ อย่างบรรจบกัน คือ อายตนะภายใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับอายตนะภายนอก กระทบกัน อายตนะภายนอก คือ สิ่งที่ถูกรู้ โดยตาเห็นอะไร หู ได้ยินอะไร จมูกได้กลิ่น ลิ้นรู้รส สิ่งเหล่านั้น คือ อายตนะภายนอก อายตนะภาใน กับอายตนะภายนอกกระทบกันมีวิญญาณ มีการรู้เกิดขึ้น มีวิญญาณ คือ การรับรู้ ประกอบด้วย (๑) จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา คือรู้รูปด้วยตา หรือการเห็น (๒) โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู คือรู้เสียงด้วยหู หรือการได้ยิน (๓) ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก คือรู้กลิ่นด้วยจมูก หรือการได้กลิ่น (๔) ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น คือรู้รสด้วยลิ้น หรือการรู้รส (๕) กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย คือรู้โผฏฐัพพะด้วยกาย หรือการรู้สึกกายสัมผัส และ (๖) มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ คือรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ หรือการนึกคิด เพราะฉะนั้นที่เรียกว่าผัสสะ คือ ๓ อย่างเข้ามา มีการกล่าวถึงเสมอเวลาเข้ามาแต่เราไม่เข้าใจ
ผัสสะปัจจะยา เวทะนา คือ ผัสสะทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ ชอบ ไม่ชอบ
เวทะนาปัจจะยา คือ ตัณหา สุขทุกข์ต่อไปทำให้เกิดความอยากได้มาก ๆ ไม่อยากให้เคลื่อนคล้อยหายไป ถ้าทุกข์ก็อยากทำให้โกรธมันกลับคืน ขับไล่มันไป นั่นคือ ตัณหา ท่านจึงบอกว่า เวทะนาปัจจะยา ตัณหา
ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง คือ ตัณหาทำให้เกิดอุปาทาน อุปาทาน คือ การยึดหมั่น ยึดหมั่นในตัวตน อัตตา ถ้าไม่ยึดมั่นในตัวตนไม่มีความทุกข์ อะไรก็เป็นกระแสของเหตุปัจจัยผ่าน ที่เคยตัวอย่างนายดำกับนายสมศักดิ์ ได้ยินสิ่งเดียวกันแต่นายดำโกรธขึ้นมาทันที นายสมศักดิ์เฉย เพราะมันไม่โดนอัตตาของนายสมศักดิ์ แต่โดนอัตตาของนายดำ อุปาทานเป้นการยึดหมั่นในความเป็นตัวตน
อุปาทานะปัจจะยา ภะโว คือ ภะวะ (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า becoming) คือ การเคลื่อนเป็นจุดเปลี่ยน คำว่า ภะโว คือ ภะวะ “อุปาทานะปัจจะยา ภะโว”
ภะวะปัจจะยา ชาติ คือ คำว่า ชาติ แปลว่าเกิด คำว่า ภะวะ คือ ภพ ทำห้เกิดชาติ
ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง และลงท้าย โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติฯ ความทุกข์เกิดถึงพร้อม สัมภะวันติ เกิดถึงพร้อม ตรงนี้มีการตีความและมีการตีความแบบผิด ๆ แม้แต่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ในครั้งโน่นเมื่อ พ.ศ. ๑๐๐๐ ที่เขียนวิสุทธิมรรค นึกว่าไปเกิดอีกชาติหนึ่ง นึกถึงตัวตนที่ไปเกิด ซึ่งอธิบายเหตุผลยาก อาจารย์พุทธทาสมีการตีความอย่างนี้เลยว่า ตรงนี้คือการเกิดของจิต คือการเกิดของความเป็นตัวตน เรียกว่าเกิด เกิดความเป็นตัวตนขึ้นอันนี้จะเข้าใจได้ พอเกิดความเป็นตัวตนขึ้น อะไรที่เกิดขึ้นเป็นหลักทางพุทธ ที่ว่าอะไรมีการเกิดก็ต้องมีความเสื่อม มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ทุกอย่างที่มีการเกิดขี้นจะมีความเสื่อม เป็นความสิ้นไปเป็นธรรมดา ภาษาบาลีใช้คำว่า “วะยะ” แปลว่าเสื่อม วะยะ คือ วัย แต่ภาษาบาลีแปลว่าเสื่อม คำว่าสิ้นไป คือ ขะยะ หรือ ขัย คือ สิ้นอายุขัย ต้องมีความเข้าใจตรงนี้เพราะว่าเจอบ่อย วะยะธัมมา ขะยะธัมมา มีความเสื่อไปเป็นธรรมดา มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ธัมมาตรงนี้แปลว่า ธรรมดา บางครั้งพิมพ์ด้วย วะยะ ขะยะ ธัมมา วะยะ “วัย” ขะยะ “สิ้นสุด” เพราะฉะนั้นเป็นหลักคิดทางพุทธอะไรเกิดขึ้นก็ต้องมีความเสื่อมแทนด้วยชรามรณะ
ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง เป็นหลักคิดอะไรเกิดขึ้นก็ต้องมีความเสื่อม มีความสิ้นไปเป็นไปเป็นธรรมดา ถ้าไม่เข้าใจตรงนี้ก็เกิดอย่างนี้ คือ เกิดคามทุกข์ขึ้น คือ
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะ นัสสุปายาสา สัมภะวันติฯ ยังไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร ที่ว่ายาก คราวหนึ่งเคยเล่าให้ฟังครั้งหนึ่งแล้ว่าเคยไปฟังหลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี เทศน์ตอนหัวค่ำมืด ๆ มีพระที่ไปในขบวน ๓ องค์ เจ้าคุณจินดา พระหนุ่ม คือ มหาอัมพร (คือ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก) ไปด้วยกัน เจ้าคุณจินดา เป็นพระอาวุโส ได้อาราธนาหลวงตามหาบัว ท่านอาจารย์ช่วยเทศน์ปะฏิจจะสะมุปปาทะปาฐะ พระสังฆราชองค์หนึ่งรับสั่งว่าไม่เข้าใจมันยาก มหาบัวอิดเอื้อนไม่เทศน์เรื่องนี้ ก็ถูกจี้ ๆ ให้เทศน์เรื่องนี้ ท่านเสียไม่ได้ก็เริ่มขึ้นเบา ๆ ก่อนที่ศาลา กลางคืนจุดตะเกียงกระป๋อง ท่านก็เริ่มอะวิชชาปัจจะยา สังขารา สังขาระปัจจะยา มีเสียงคนล้างเท้าขึ้นมาบนศาลา สมาธิแตกแล้วพูดไม่ได้แล้วเลิกไม่พูด ก็เลยรู้แต่คำว่าปะฏิจจะสะมุปปาทะปาฐะ แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร แต่ตอนหลังมาก็มีโอกาสก็เรียน เรียนกับท่านอาจารย์พุทธทาส ถ้ายากไปก็ไม่เป็นไร แล้วก็ค่อย ๆ ที่ผมค่อย ๆ พูด ค่อย ๆ assembler เข้ามาเป็นช่วงสั้น ๆ ยาวตลอด บางช่วงก็อาจจะไม่เข้าใจ
อันหนึ่งท่านอาจารย์พุทธทาสบอกว่าทุกคนต้องมีของเล่น ถึงเป็นพระอาริยะก็ต้องมีของเล่น พระพุทธเจ้าท่านชอบฮัมเพลงมีคนได้ยิน พระพุทธเจ้าท่านอยู่องค์เดียวท่านก็ฮัมเพลง คือ ปะฏิจจะสะมุปปาทะปาฐะ “อะวิชชาปัจจะยา สังขารา สังขาระปัจจะยา วิญญาณัง วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส ผัสสะปัจจะยา เวทะนา เวทะนาปัจจะยา ตัณหา ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง อุปาทานะปัจจะยา ภะโว ภะวะปัจจะยา ชาติ ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ ฯ เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ สะมุทะโยโหติฯ” ตลอดสาย อนุโลม และปฏิโลมขึ้นมา คือ ระงับไป พอระงับได้ก็ระงับ ๆ ขึ้นมา มีการมีขึ้นมีลง ฮัมเพลงขึ้นลง ๆ ท่านมีแง่มุมให้ขำ ๆ ดี ท่านอาจารย์พุทธทาสแต่ก็เพิ่มความเข้าใจที่ตรงนี้
ตรงนี้แล้วกันธรรมาธรรมะสงคราม สงครามในจิตใจของเรา เราต้องเข้าต่อสู้ เหมือนอรชุณไม่อยากเข้าต่อสู้เพราะศัตรู คือ ญาติของเรา ศัตรูก็อยู่ในตัวเราทั้งนั้น ขันธ์ ๕ ก็อยู่ในตัวเรา สงครามหาภารตะ อรชุณไม่อยากรบกับญาติพี่น้อง ครูบาอาจารย์ทั้งนั้น กองทัพฝ่ายตรงข้าม มีความลังเลใจมาก พระกฤษณะ ซึ่งเป็นนายสารถีซึ่งเป็นพระเจ้าถึงเร่งอรชุณว่าอรชุณต้องเข้าต่อสู้ เพราะเกิดความลังเลใจ ถึงเราไม่ต่อสู้ก็โดนรุกรานเรา มีการจับเราเป็นทาสแล้วเราไม่หลุด ถ้าเราต่อสู้ขั้นแรกยังล้มลุกคลุกคลาน แต่ก็จะแข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ ไปถึงเรื่องอินทรีย์ ๕ พละ ๕ แต่ไม่ทันแล้วเอาไว้คราวหน้า
ตอนนี้ให้เราไปลองดูเองไปต่อสู้สงครามที่ใหญ่ที่สุด ถ้าชนะตรงนี้เป็นสงครามที่ยาก ที่อื่นไม่ยากถ้าชนะตรงนี้ได้นะ ตอนหลังเราจึงพูดโลกธรรมบรรจบกันที่ประเทศไทย แค่นี้ก่อนรู้แล้วว่าการต่อสู้คือระหว่างใครกับใครระหว่างผู้รู้ ขันธวิมุติสมังคีธรรม ถ้าหาได้ไปอ่านดูก็จะช่วยเข้าใจสงครามตรงนี้ขึ้น หลวงปู่มั่นท่านพูดจากประสบการณ์ของท่านเลย เป็นการอธิบายการต่อสู้ระหว่างผู้รู้ คือ สติ ผู้รู้ คือ ศัตรู คือ ขันธ์ ๕ คือ อุปาทานยึดไว้ แล้วเกิดการต่อสู้กัน มีวามสนุกมากเล่มนี้จะเห็น ไปลองดูตรงนี้แล้วก็เป็นการบ้าน ไปทำสงครามอย่าลังเลใจ ถ้าลังเลเราแพ้เราจะถูกจับเป็นทาส ขันธวิมุติ คือ ขนฺธ (กอง คณะ) + วิมฺตติ (ความพ้นวิเศษ) ความพ้นวิเศษจากขันธ์ ขันธ์ที่โดนอุปาทานจับไว้ อุปาทาน คือ ความไม่จริงเป็นมายา ความจริงจึงจะมีชัย ที่หน้ามฤคทายวันมีเสาพระเจ้าอโศกมหาราชปักอยู่เสาหนึ่ง และจารึกไว้ที่เสาว่า “ความจริงมีชัยเหนือทุกสิ่ง” เป็นจารึกเสา แล้วเราจะเข้าใจ ถ้าเราไม่เข้าใจก็จะไม่เข้าใจว่าอะไรนะจารึกเสา “ความจริงมีชัยเหนือทุกสิ่ง” เพราะว่าตอนสงคามตรงนี้เป็นสงคามกับอุปาทาน คือ ความไม่จริง พอรู้ความจริง คือ ขันธวิมุติ “ความจริงมีชัยเหนือทุกสิ่ง” คราวหลังจะนำภาษาบาลีตรงนี้มาให้ฟัง ว่าความจริงมีชัยที่มีการจารึกไว้ที่เสาพระเจ้าอโศกมหาราช
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : มีคำถามเข้ามา ๕ คำถาม เวลาเหลืออยู่ประมาณ ๑๕ นาที ตั้งแต่ต้นมา มี ๓ - ๔ ประเด็นที่ขอขมวดเนื่องด้วยจิตเดิมแท้ จิตรู้ จิตคิด เป็นการต่อสู้ภายในจิตใจไปฝึก ไปทดลอง มี ๒ คำถาม แต่รวมเป็นคำถามเดียว จิตประภัสสรและจิตเดิมแท้คืออะไร และต่างกันไหมต่างกับวิญญาณอย่างไร
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : อันเดียวกัน จิตเดิมแท้หรือจิตประภัสสร จิตเดิมแท้เป็นจิตที่ไม่มีมลภาวะมาครอบคลุมเป็นจิตที่บริสุทธ์ไม่มีอะไรมาควบคุมก็เป็นจิตประภัสสร จิตสว่าง เพราะไม่มีมลภาวะเข้ามาปกคลุมปกติเราถูกมลภาวะเข้ามาปกคลุมอยู่ กิเลส ตัณหา อุปาทานร้อยแปด เราไม่รู้มัน เรามีอวิชชา เราไม่รู้ก็เสียท่า เป็นทาสมัน เพราะฉะนั้นท่านถึงว่าอวิชชาที่เป็นหลักสำคัญทางพุทธเลย อวิชชา เป็นสาเหตุของทุกข์ แล้ววิชชาหรือปัญญา คือ การทำให้สิ้นทุกข์
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : คำถามนั้นถามมาว่าแล้วจิตประภัสสรหรือจิตเดิมแท้ที่เป็นอันเดียวกันต่างกันอย่างไร
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ถามอย่างนี้ก็ดีลองสังเกตดูนะ ถ้ารู้ไม่ทันจะงงเหมือนกันวิญญาณพอใช้ในที่ต่าง ๆ กัน บางที่ก็เรียกจุติวิญญาณ ตอนเด็กอยู่ในท้องแม่นอกจากมีเซลมีอะไรต่าง ๆ แล้ว เขาบอกว่ามีวิญญาณเกิดขึ้น เรียกว่าจุติวิญญาณ ทำให้มีชีวิตตรงนั้นเกิดในช่วงอายุเท่าไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง คงจะรู้กัน เรียกจุติวิญญาณก็มีตรงนั้น เป็นธาตุรู้แล้วตรงนี้ วิญญาณที่ใช้ว่าวิญญาณ ปกติจิตยังไม่เกิดวิญญาณ บางที่เขาเรียกวิถีวิญญาณ เป็นวิญญาณที่มีการกระทบทางตาแล้วรู้ วิญญาณแปลว่ารู้ รู้ทางตาเรียกว่า จักขุวิญญาณ รู้ทางหู เรียกว่า โสตวิญญาณ รู้ทางใจเรียกว่า มโนวิญญาณ นำไปเติมตางอายตนะ เป็นวิญญาณที่ไม่มีอยู่ตามปกติ ไม่มีอยู่ในขณะที่เป็นจิตเดิมแท้ แต่เกิดขึ้นเวลามีอะไรมากระทบ เวลามีผัสสะถึงเกิดวิญญาณที่ตรงนั้นบางที่ท่านเรียกว่าวิถีวิญญาณ จิตที่ยังไม่ได้อยู่เหล่านี้บางที่เรียกว่าภวังคจิต จิตที่นิ่งเหล่านี้เวลาเกิด เพราะฉะนั้นวิญญาณที่เรียกว่าจักขุวิญญาณ ไม่ได้เป็นตัวที่มีอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ดวงวิญญาณแบบนาคพระโขนง ที่ไม่เข้าคนโน่น ไปจุติไปสิงห์สู่ตรงโน่นตรงนี้ นั้นเป็นวิญญาณแบบนาคพระโขนง ไม่ใช่วิญญาณทางพุทธ วิญญาณต้องระวัง แต่ถ้าเข้าใจว่าจิต คือ ผู้รู้ จิตเดิมแท้ หลายคนรู้ทันมัน หลายคนใช้คำว่าวิญญาณ เขาหมายถึงอะไร
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : มีคำถามจากคราวที่แล้วมีน้องผู้หญิงคนหนึ่งสอบถาม เป้าหมายกับความอยากต่างกันอย่างไร และถ้าหากว่าต้องตัดความอยากแล้วยังคงมีเป้าหมายได้ไหม
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : เป้าหมายที่มีการใช้กัน ใช้กันแบบหลวม ๆ มักจะไม่ใช่เป้าหมาย โดยมากลองไปดูอาจารย์มหาวิทยาลัยใช้คำว่า “เป้าหมาย” คำว่าเป้าหมายหรือ target ต้องมีจำนวนและเวลาในการระบุไว้ด้วย เช่น จะผลิตปริญญาเอกให้ได้ ๒๐ คน ภายใน ๕ ปี อย่างนี้เป็นเป้าหมาย แต่ถ้าบอกว่าต้องการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการอันนี้ไม่ใช่เป้าหมาย แต่มักจะเรียกเป้าหมายกัน เป้าหมายเพื่อสร้างเข้มแข็งทางวิชาการอันนี้เป็นวัตถุประสงค์ทั่วไป แล้วแต่เป็นการใช้ให้แม่นยำหรือว่าเป็นการกล่าวทั่ว ๆ ไป เข้าใจที่ถามมา ไม่มีความอยากคนก็จะเข้าใจผิดว่าไม่มีความอยากก็เลยไม่ทำอะไร นิตยาสาร time เคยขึ้นหน้าปก great is good great ทำให้เกิดการพัฒนา ว่าความโลภอยากทำโน่นทำนี่มากมายเกิดการพัฒนา เพราะฉะนั้นความโลภเป็นของดี great is good นั่นเป็นฝรั่งที่พัฒนาบ้านเมือง ตอนนี้ก็เห็นแล้วว่าเป็นอย่างไร great is good
ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ความไม่อยากก็เลยไม่ทำอะไร ไม่มี incentive ที่จะทำให้ทำอะไร แต่ลองไปดูพระพุทธเจ้าท่านหมดกิเลส หมดความอยาก แต่ทำงานตัวเป็นเกลียวเลย สอนมนุษย์ สอนเทวดา หรืออย่างท่านอาจารย์พุทธทาสสอนทำงานเยอะเลย คือ ความอยากช่วยเพื่อนมนุษย์ มีหัวใจเพื่อเพื่อนมนุษย์ก็ได้ แล้วก็มีฉันทะ วิริยะที่จะดำเนินการ เป็นเรื่องที่ดี ทำโดยปราศจากความอยาก ทำโดยไม่มีตัวกูของกู มีผลงานจำนวนมาก แต่ตัวคนทำหายไปท่านอาจารย์พุทธทาสกล่าวตรงนี้เสมอ แล้วท่านก็จะบอกว่าธรรมะ คือ การทำงาน การทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม การทำงานคือการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การไม่ทำอะไร การทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม ตรงนี้นำมาตีความ ผมคิดว่าผมตีประเด็นเรื่องการศึกษาแตกแล้วตรงนี้ เพราะการศึกษาที่ทำมาร้อยกว่าปีทำให้เกิดปัญหาเยอะ ทั้งประเทศเลย ทำให้เกิดความยากจน ครูจน ผู้ปกครองก็จน ไปเรียนแต่สุตะมยปัญญากับจินตมยปัญญา ไม่เรียนจากการทำงาน ไม่เรียนดูจากการดูชีวิต คือ การที่เราทำอะไร ต้องเรียนรู้จากธรรมชาติ ธรรมชาติมีความยิ่งใหญ่ที่สุด ฉลาดที่สุด ธรรมชาติสร้างมนุษย์ขึ้นมาใครสร้างได้บ้าง มนุษย์เป็นสิ่งที่วิจิตรที่สุดในจักรวาล ธรรมชาติสร้างมา มีเซลล์ตั้งกี่ล้าน ๆ ล้านเซลล์ มี DNA ที่อยู่ในแต่ะเซลล์นิดเดียวแต่ยาว ๓,๐๐๐ ล้านตัว แล้วบอให้ทำอะไร ๆ ซึ่งเซลล์มีความสัมพันธ์กันหมด มีสมอง มีเซลล์สมองแสนล้านตัว มีหัวใจ ใครจะสร้างอย่างนี้ได้บ้าง ไม่มีใครสร้างได้ ธรรมชาติสร้างได้ เพราะฉะนั้นธรรมชาติมีความสำคัญที่สุด แล้วฉลาดที่สุด ต้องเรียนรู้จากธรรมชาติ ธรรมชาติ คือ ธรรม คือ ธรรมชาติ การเรียนรู้การศึกษา คือ การที่ไปคิดขึ้นเอง ไม่เรียนรู้จากชีวิต คิดว่าการศึกษาควรเป็นอย่างนี้ ก็เลยคิดการศึกษาแบบแยกส่วนจากชีวิต ชีวิตอย่างหนึ่ง การศึกษาไปเอาวิชาเป็นตัวตั้ง เรียนวิชาอะไร สอบวิชาอะไร ได้ปริญญาวิชาอะไร นำวิชชามาเป็นตัวตั้ง แล้วชีวิตเป็นคนละเรื่องแยกส่วนกันไปทำให้เกิดปัญหาเยอะ ต้องมีการเรียนรู้โดยเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต อยู่ที่เดียวกัน ตรงนี้จะรู้ว่าจะจัดการศึกษาอย่างไร การนำชีวิตมาจับจะตีประเด็นการศึกษาออก การปฏิรูปอะไรไม่สำเร็จเพราะการตีประเด็นไม่แตก ต้องเรียนรู้จากธรรมชาติ แล้วถามว่าชีวิตเรียนรู้อย่างไร
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : เมื่อวันที่ ๖ ได้ไปกราบท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) มีหลายประเด็นมากท่านคอยติดตามทางวีดีโอของสวนโมกข์ กรุงเทพฯ เรื่องแนวทางแต่ท่านได้ชี้ประเด็นหนึ่งบอกว่าฝากให้ไปดู ๓ เรื่อง เป็นพื้นใจ คือ (๑) ฉันทะ คือ ความอยากในทางกุศลต้องเจริญให้มาก ขอให้มีฉันทะเป็นพื้นใจ บวกกับ (๒) การรักษาปราโมทย์ไว้ (๓) อานาปานสติ เป็นเอกพื้นฐาน ๓ อย่าง เป็นมนุษย์รมณีย์และสังคมรมณีย์ได้
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : นั่นแหละโลกธรรรมบรรจบกันที่ประเทศไทย
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : มีคำถาม ๒ – ๓ คำถาม พร้อมคำขอ ที่บอกว่ามีวิกฤตครั้งที่ ๔ ให้อาจารย์ช่วยเขียนอีกครั้งหนึ่งลงในหมอชาวบ้านด้วย มีคำถามที่ไม่คิดให้อาจารย์หมอประเวศ วะสี ตอบมีคำถามว่าแล้วครั้งที่ ๒ ที่มีการรักษาแผ่นไว้ได้ขณะนี้แล้ว เสียไปบ้างนั่นคุ้มไม่คุ้มอาจารย์ไม่ต้องตอบเพราะว่านอกประเด็นวงนี้ แต่มีคำถามหนึ่งสติกับกับสัมปชัญญะมีความพร้อมความต่างกันอย่าไร เอาไว้คราวหน้าผมค่อยถามซ้ำ ขอเชิญคุณเพรียงพรมาช่วย reflex ประมาณ ๑ นาที จากการเข้าร่วมทั้งหมด ๕ ครั้ง และครั้งนี้ด้วย
คุณเพรียงพร : สิ่งที่ได้รับ คือ ธรรมะคือธรรมชาติ ความปรารถนาที่ควรมี คือ ฉันทะ สิ่งที่ระลึกนึกย้อนกลับไป คือ ได้ลงเรื่องปะฏิจจะสะมุปปาทะปาฐะ ลงลึกมากขึ้นกว่าเดิม รู้จักคำนี้คำแรกที่คุณหมอเขียนลงในหมอชาวบ้านคำว่า อิทัปปัจจยตา ครั้งแรกไม่รู้จักคำอะไรก็ไม่รู้แล้วก็สืบเรื่องทุกวันนี้ก็ได้อาสามาอยู่ที่นี่จะพูดเรื่องปะฏิจจะสะมุปปาทะปาฐะ มีความรู้นึกว่าลึกขึ้นกว่าที่เคยรู้มา
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : เรื่องสติสัปัญชัญญะช่วยไปไขความกับท่านที่สอบถามด้วย ท้ายสุดหนังสือขันธวิมุติสมังคีธรรม จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๕ อาจารย์ประมวลรวมพิมพ์ จำนวน ๕๐๐ เล่ม ติดตามทางออนไลน์อยู่ไปหามาและวันนี้มีอยู่ ๔ เล่ม คราวหน้าสวนโมกข์พยายามที่จะประสานมาแบ่งปันกันถ้าหาได้ ถ้าใครหาได้ก็นำมาแบ่งให้สวนโมกข์ด้วย แต่นัดนี้อาจารย์ประเวศฝากหนังสือ ๒ – ๓ เล่ม แนะนำให้ไปอ่านมาคราวหน้า โพชฌงค์กับคิริมานนทสูตร หามาได้แค่โพชฌงค์คปริต ส่วนเล่มอื่น ๆ ถ้าหากท่านสนใจก็ข้างล่างที่ห้องสโมสรธรรทาน ขอบคุณสำหรับนัดนี้ พุทธวิธีสร้างสุขครั้งที่ ๕