PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • กิจกรรม
  • ธรรมนันทนาการ
  • ฟังเสียงในจิตใจ
Show image [activity]
ฟังเสียงในจิตใจ รูปภาพ 1

ฟังเสียงในจิตใจ

วันจัดกิจกรรม
วันเสาร์, 07 มีนาคม 2563
วันเสาร์, 02 พฤษภาคม 2563
วันเสาร์, 04 กรกฎาคม 2563
วันเสาร์, 05 กันยายน 2563
วันเสาร์, 07 พฤศจิกายน 2563
วันเสาร์, 04 มกราคม 2563
สถานที่จัดกิจกรรม
ห้องปฎิบัติธรรม ชั้น ๒ สวนโมกข์กรุงเทพ
วิทยากร/ผู้บรรยาย
อาจารย์เมธี จันทรา

ฟัง...อย่างไรให้เห็นความงาม

387234225

จะยกตัวอย่างทางหู อย่างที่เขาฟังว่าไพเราะ  คนโง่ๆ ก็ยึดถือตามไปว่าไพเราะ  มันก็มีสิ่งที่ไพเราะเกิดขึ้น  แต่ผู้รู้เขาก็ว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง  เช่น ดนตรีต่างๆ ประสานเสียงกัน ฟังดูว่าไพเราะ  ถูกสอนกันมาว่าไพเราะ   แต่ผู้รู้มันก็เห็นกันว่า เช่นนั้นเอง  ที่นี้ที่มันไม่ไพเราะ ฟังแล้วรำคาญหู  มันก็เช่นนั้นเองอีกเหมือนกัน เพราะมันประกอบด้วยลักษณะอย่างนั้นจึงรำคาญหู  ถ้ามันรู้สึกว่าเช่นนั้นเอง มันก็ไม่รู้สึกว่าไพเราะ ไม่รำคาญในเสียงที่ไม่ไพเราะ    ก็อยู่ได้โดยไม่เป็นโรคประสาท  ถ้ามันคอยพอใจในส่วนที่มันสวย ไพเราะ  แล้วไม่พอใจในส่วนที่ไม่สวย ไม่ไพเราะ  มันก็ขึ้นๆ ลงๆ ฟูๆ แฟบๆ  ในที่สุดมันก็ต้องวิปริตในทางจิตใจ   เอาเช่นนั้นเอง มาคุ้มครองไว้  อย่าให้มัน ขึ้นๆ ลงๆ ฟูๆ แฟบๆ 

พุทธทาสภิกขุ

ธรรมบรรยาย  ตอนที่ ๑๕๖  เรื่อง ทุกอย่างเป็นเช่นนั้นเอง

บรรยายเมื่อวันที่ ๓๑ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒

8 1 ฟงsm

ขอเชิญฝึกการฟัง ในมิติของความงามที่ไร้คำอธิบาย...การอธิบายนั้น มักนำไปสู่สิ่งที่ใช่...และไม่ใช่...อยู่เสมอ เสียง..บทกวี.. ดนตรี..ความเงียบ มีความสมบูรณ์ในตัวของมันเองตามสภาวะนั้นๆ อยู่แล้ว เพียงแค่..ฟัง... 

เสียงจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง รวมถึงเสียงที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และเสียงที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา เช่น เครื่องจักร รถยนตร์ ฯลฯ รวมถึงเสียงของความเงียบ... เสียงเหล่านั้นล้วนแต่มีความงามในตัวเองเรียกว่า “Soundscape” … แต่ถ้าเราไม่สามารถฟังหรืออยู่ร่วมกับเสียงเหล่านั้น ความงามในรูปของเสียงเหล่านั้น อาจกลับกลายเป็นเสียงที่รบกวนแก่เรา รวมทั้งอาจมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเราได้... ทำอย่างไรที่เราจะสามารถอยู่กับสภาวะของ “เสียง” เหล่านั้นได้อย่างสมดุลย์ เปรียบเสมือนเราเป็นส่วนหนึ่งตามธรรมชาติ กับเสียงนั้นๆ...

เรียนรู้ที่จะปรับสภาพการ “ฟัง” อย่างเข้าใจ กับเสียงต่างๆ รอบตัวที่เกิดขึ้น และเรายังสามารถดำเนินชีวิตของเราได้อย่างปกติ ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงของตัวเราในขณะนั้น….

คุณมีเวลาว่างมาพักฟังเสียงความคิดตัวเองรึเปล่า ? 

(อ่านเพิ่มเติม บทความ We're all ear Bangkokpost http://www.bangkokpost.com/print/311832/)

8 4 ฟงsm

กิจกรรม

  • Mirror effect : เคลื่อนไหวร่างกาย อย่างธรรมชาติ และอิสระ กับเสียงที่ได้ยิน ถ่ายทอดความรู้สึกที่ได้ฟังออกมาทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย และให้ความใส่ใจกับสียงของร่างกายจากคนรอบข้าง
  • แนะนำเรื่องการฟัง เสียงต่างๆ จากภายใน และเสียงรอบๆ ตัว Soundscape ที่มีผลกระทบและมีความหมายของแต่ละประเภท
  • ผ่อนคลายร่างกายด้วยวิธี Alexander Technique
  • ฟังเสียงรอบๆ ตัว จากธรรมชาติ และจากเสียงที่สร้างขึ้น ให้สังเกตเสียงที่มีความหมาย และให้ความรู้สึกกับตัวเรา
  • ฟังเสียงภายใน ได้แก่ เสียงความคิด เสียงของอารมณ์ ฟังเสียงของตนเอง
  • ฟังเสียงร่างกาย ด้วยการสร้างเสียงด้วยตนเองจากวัตถุต่างๆ พร้อมเคลื่อนไหวร่างกายกับจังหวะ
  • สร้างมณฑลเสียงร่วมกัน
  • พูดคุย แลกเปลี่ยน

IMG 1464sm

วิทยากร

คุณเมธี  จันทรา ผู้มีความสนใจเรื่องการทำสมาธิผ่านสรรพเสียงต่าง ๆ (อ่านเพิ่ม http://bit.ly/16ezJli)

ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ https://www.facebook.com/ContemplativeSoundscape

วันเวลาและสถานที่

ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่ ๑ ของเดือนคี่ เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.

ห้องปฏิบัติธรรม ชั้น ๒ สวนโมกข์กรุงเทพ

หมายเหตุ

เพื่อความต่อเนื่องของกิจกรรม และไม่เป็นการรบกวนสมาธิของวิทยากรและผู้ปฏิบัติอยู่ก่อนแล้ว ขอสงวนสิทธิการเข้าร่วมหลังกิจกรรมเริ่มแล้ว ๑๕ นาที

Link ลงทะเบียน
register.bia.or.th/

หมวดหมู่กิจกรรม

  • ดูทุกหมวดหมู่กิจกรรม
  • องค์ความรู้ด้านศาสนธรรม
  • งานบุญประเพณี
  • ธรรมนันทนาการ
  • ภาวนาวิถีเมือง
  • ปริยัติสัทธรรม
  • ปฏิบัติสัทธรรม
  • อบรมบ่มเพาะ

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service