แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
คุยกันเรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับชีวิตของพระ และก็เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนิกชนทั่วไปด้วย ก็คือเรื่องสวดมนต์ เรามาทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ ก็มีเรื่องสวดมนต์นี่แหละ และนอกจากทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ ก็มีพิธีกรรม จะทำบุญในวัดก็ตาม นอกวัดก็ตาม ก็มีการสวดมนต์เป็นหลัก ถ้าเป็นงานมงคล เขาเรียกว่า เจริญพระพุทธมนต์ ถ้าเป็นงานอวมงคล ก็คืองานเกี่ยวกับคนตาย งานศพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องล่วงแล้วหรือจะเป็นปัจจุบัน เรียกว่า สวดพระพุทธมนต์ ใช้ต่างกัน เจริญพระพุทธมนต์และสวดพระพุทธมนต์ แต่ถ้าเป็นเรื่องการสวดมนต์ทั่ว ๆ ไป ก็ใช้ว่า การสวดมนต์ เฉยๆ
ทีนี้เป็นเรื่องของการสาธยายคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นการทรงจำด้วยปากเปล่า เพราะสมัยก่อนเดิมทีเดียวนั้น การที่จะรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ท่องแล้วก็มาสาธยายพร้อมกัน ซึ่งเป็นวิธีรักษาคำสอนที่แม่นยำมาก ซึ่งการมาท่องแบบนี้นี้ ผิดแม้แต่ตัวเดียวไม่ได้ ถ้าผิดคำหนึ่งก็เข้ากับพวกไม่ได้ ตกหล่นคำหนึ่งก็ไม่ได้ เกินก็ไม่ได้ ต้องเหมือนกัน ต้องสวดพร้อมกัน ไปด้วยกันได้ดี ก็เลยเป็นวิธีรักษาคำสอนที่บอกไป แม่นยำมาก ยิ่งกับตัวหนังสือสมัยก่อนนี่ต้องคัดลอก พอคัดลอกทีหนึ่งก็ต้องมีตกมีหล่น มีพลาดทุกครั้งไป อย่างที่เขาลอกตำรายากัน เขาบอกว่าลอก 7 ที ก็ตายพอดี อันนี้ก็เลยต้องระวังมาก ท่านถือเป็นเรื่องสำคัญมาก คำสอนของพระพุทธเจ้า ก็คือหลักของพระศาสนานี่ ก็ธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ บัญญัติไว้ เป็นมวลพระศาสนา พอพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว อะไรเป็นตัวแทนพระองค์ ก็คือสิ่งที่พระองค์สอน ฉะนั้นพอตอนที่พระองค์จะปรินิพพาน พระองค์ก็ไม่ได้ตั้งใครเป็นผู้แทนของพระองค์เป็นประธาน เป็นหัวหน้าของคณะสงฆ์ แต่ตรัสว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ธรรมวินัยที่เราแสดงไว้แล้ว บัญญัติไว้แล้วนี้ จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ยิ่งพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ก็ยิ่งเป็นเรื่องสำคัญ พระเถระสมัยนั้นก็คิดว่าจะทำอย่างไรให้รักษาคำสอนให้แม่นยำที่สุด การที่จะมาทำให้คลาดเคลื่อนนี่ถือเป็นเรื่องร้ายแรงมา เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการรักษา ซึ่งแต่ก่อน ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพานก็รักษาอยู่แล้ว ยิ่งพอพระพุทธเจ้าปรินิพพานยิ่งต้องมาประชุมกัน ที่เรียกว่าสังคายนา มารวบรวมมาประมวลมาตกลงกันในที่ประชุม แล้วก็พอตกลงกันอย่างนี้แล้ว ก็สวดท่องพร้อมกันไปเลย สวดพร้อมกันอย่างนี้ เรียก สังคายนา แปลว่าการสวดพร้อมกัน หรือ สังคีติ ภาษาบาลี เรียกว่า สังคีติมากกว่า แปลว่าการสวดพร้อมกัน ก็สวดพร้อมกันก็อย่างนี้ มันทำให้คงอยู่อย่างเดิมแน่นอนคลาดเคลื่อนน้อย เพิ่มเติมไม่ได้ทั้งนั้น เพื่อให้รัดกุมยิ่งขึ้นก็ต้องแบ่งคณะกัน พระเถระองค์นี้ มีลูกศิษย์ลูกหามาก เป็นผู้ใหญ่ ก็มอบหมายว่า ท่านเป็นผู้ฉลาดชำนาญในด้านนี้ ศึกษาคำสอนพระพุทธเจ้าในด้านนี้ชำนาญมาก อธิบายได้เก่ง ให้ท่านรับผิดชอบกับหมู่คณะของท่าน ให้จำส่วนนี้ไว้ ??? ….นิกาย ส่วนองค์นี้รับผิดชอบมัจฉิมนิกาย ??? ส่วนอื่นต่อไป แล้วท่านก็สวดพร้อมกันอย่างนี้ มีการสวดอยู่เสมอ ทีนี้ต่อมา พ.ศ.ใกล้ 500 ปี ศรีลังกา??? มีการจารึกพระพุทธพจน์เป็นลายลักษณ์อักษร ต่อจากนั้นการสวดรักษา
พระพุทธพจน์ก็ถือเป็นเรื่องที่ว่า เหมือนกับหมดความจำเป็น เพราะฉะนั้นการสวดมนต์สาธยายคำสอนก็ค่อยๆสวดน้อยลงไป ก็เอามาเป็นเรื่องของลายลักษณ์อักษร ก็มากำชับกันว่าจะคัดลอกอย่างไรไม่ให้ผิดพลาด ก็ถือว่า ถ้าหากได้สร้างพระธรรม 1 อักษร มีค่าเท่ากับสร้างพระพุทธรูป 1 องค์ โบราณถือเยี่ยงนั้นเลย ให้ความสำคัญมาก ถ้ามองในมุมกลับ ถ้าทำลายทำร้ายเสียหาย 1 อักษร ก็เท่ากับทำลายพระพุทธรูป 1 องค์ เช่นกัน แต่เขาบอกไปในแง่บวกว่า สร้างอักษร หลักธรรม 1 อักษร เท่ากับพระพุทธรูป 1 องค์ มีบุญมากได้บุญมาก นำเอามาพิจารณาแง่นี้ เพราะไปสร้างพระพุทธรูปกันมากเกินไป แทนที่จะเอามาสร้างพระธรรม ซึ่งมีค่าอักษรเท่ากับสร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่งแล้ว คนเดี๋ยวนี้กลับไม่ค่อยใส่ใจ พระธรรมมีค่าในแง่ธรรมะ คำสอนให้ปฏิบัติได้ เป็นตัวพุทธพจน์ที่เป็นศาสดาของชาวพุทธ นี่เราก็รักษาสืบต่อกันมา ต่อไปก็เกิดประเพณี เรื่องการสวดมนต์ โดยในสมัยหลังนี้ เมื่อตัด??? ความหมายในเชิงการรักษาคำสอนพระพุทธเจ้าลดน้อยลงไป ก็มาใช้ในความหมายอื่น ๆ ก็ใช้ในความหมายเช่นว่า เป็นเครื่องสำรวมจิตหรือนำจิตเข้ามาสู่ความสงบ สมาธิ หรือเป็นเครื่องนำศรัทธาภาษา??? แต่ก็ยังเป็นประเพณีว่า ในแง่หนึ่งก็ยังเป็นการสาธยายคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ประชาชนได้ฟัง เอาบางส่วนก็ยังดี เป็นสิริมงคล เวลามีพิธี ก็เอามาฟังคำสอนของพระพุทธเจ้ากันนะ ส่วนหนึ่งก็จะมาในแง่ว่าเป้นเครื่องโน้มจิตให้เกิดศรัทธาภาษาธ??? ให้เกิดปีติอิ่มใจ โน้มไปสู่ความสงบ สมาธิ บางที่ใช้เป็นส่วนนำสมาธิ ก่อนที่จะเจริญจิตภาวนา นั่งสมาธิกัน ก็สวดมนต์กันก่อน จิตของเราที่วุ่นวายเรื่องต่าง ๆ มาถึงมานั่งสมาธิทันที มันยังฟุ้ง ก็สวดมนต์กัน พร้อมเพรียงกัน จิตก็โน้มมาสู่ความสงบมาอยู่กับถ้อยคำที่เป็นพุทธพจน์ เป็นบาลีที่ท่านร้อยกรองไว้อย่างดี จิตก็จะมาสัมผัสกับความงดงามของถ้อยคำหรือจังหวะทำนองที่ดี ทำให้จิตใจสงบ ก็เป็นเบื้องต้นของการเจริญสมาธิ อันนี้ก็มาทำกิจกรรมส่วนรวม ก็เลยมีความหมายในเชิงของกิจกรรมของหมู่คณะของชุมชน เป็นโอกาสที่จะได้มาพบปะพร้อมเพรียงกัน ก็เป็นวัตรขึ้นมา วัตรก็คือเป็นประจำ ในส่วนภาคเช้า ภาคค่ำ โดยมีการสวดมนต์ วัตรแปลว่า
ข้อปฏิบัติประจำ ถือเป้นโอกาสที่ได้มาประชุมพร้อมกัน เพราะพระสงฆ์มีอยู่ในวัดเดียวกัน ก็ควรมีโอกาสได้มาพบปะ พร้อมเพรียงกัน บางวัดก็ไม่ได้ฉันพร้อมกัน แต่ก็มาสวดมนต์พร้อมกัน มีสัญญาณตีระฆังว่า เอานะ มาพร้อมกันสักที ในวันหนึ่งก็ได้พร้อมกัน 2 หน ถ้าท่านเจ้าอาวาสมีเรื่องอะไรจะบอกจะแจ้งข่าวคราสความเป็นไปของหมู่คณะ ก็ได้มีโอกาสแจ้ง แล้วมีอะไรเป็นไปในวัดเกิดขึ้นที่เราควรจะแก้ไขปรับปรุง ก็จะได้มาปรึกษาหารือ แล้วก็เรื่องเกี่ยวกับความประพฤติที่เกิดขึ้นในวัดเรา ที่มันไม่เหมาะสมที่มันควรจะปรับปรุงให้ดีขึ้น ก็จะมานั่งแนะนำ และอาจได้มาฝึกปฏิบัติกรรมฐานอะไรกันด้วยก็ได้ หรืออาจจะมาอธิบายธรรมะกันแบบที่เรานี้ก็ได้ ก็เป็นโอกาสเป็นกิจกรรมของหมู่คณะและก็สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้น สร้างความคุ้นเคย ความสนิทสนมของพระที่อยู่ร่วมกันให้มีขึ้น วันนี้ก็เป็นกิจกรรมของสังคม??? มีความหมายหลายอย่าง แต่นอกจากในหมู่พระแล้ว ญาติโยมก็อาจจะได้มาร่วมด้วย ประชาชนก็ได้มีโอกาสรับผลอย่างเดียวกับที่พระได้รับทั้งในแง่ของการพบปะ มีกิจกรรมร่วมกัน ได้มาใกล้ชิดกับพระสงฆ์ ได้มาฟังธรรม ได้มาร่วมสวดมนต์ ได้ทำจิตให้สงบ เป็นฐานเป็นบาตร เป็นเครื่องเตรียมจิตให้สู่สมาธิอะไร ก็ได้ประโยชน์ไปด้วยกันหมด
ทีนี้มาพูดถึงบทสวดมนต์ บทสวดมนต์ โดยทั่วไปในปัจจุบัน นี้ จะแยกได้ 3 ประเภท
ประเภทที่ 1 เป็นเรื่องแต่เดิม ก็คือว่า เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่นเอามาจากพระไตรปิฎก ถ้าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็ต้องเอามาจากพระไตรปิฎก ไปเลือกคัดเอามาจาก??? พาลานัง ก็เป็นคำสอนดีดี ท่านก็คัดเลือกมาก็สอดคล้องกับสถานการณ์ด้วย แล้วก็เนื้อหาก็ดี มงคลที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ แต่เป็นมงคลที่เกิดจากการปฏิบัติ การพัฒนาชีวิต ดังนั้นประเภทที่ 1 ก็เป้นคำสอนของพระพุทธเจ้า เป้นพุทธพจน์จากพระไตรปิฎก
ประเภทที่ 2 ก็เป็นบทสวดสรรเสริญพระรัตนตรัย สรรเสริญพระพุทธเจ้ พระธรรม พระสงฆ์ “อิติปิโส ภควา อรหังสัมมา สัมพุทธโธ” บทสวดก็เยอะพอสมควร ก็จะให้น้อมจิตสู่พระพุทธคุณ เอาพุทธคุณมาเป็นสติ แล้วก็เมื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ก็น้อมจิตไปสู่ความดีงาม หรือแม้แต่ใช้ระลึกกำหนดจิตให้เป็นสมาธิ ก็ใช้ได้
ประเภทที่ 3 เป็นประเภทอวยชัยให้พร ตั้งจิตปรารถนาดี บทสวดประเภทนี้ เป้นประเภทที่เรียบเรียงขึ้นในภายหลัง เช่น อย่างบทที่เราสวดกันมากที่สุดเลยนะ “ภวันตุธรรม พมังคลัง”??? สวดแทบทุกครั้งเลยเวลามีงานพิธี บทนี้เป็นบทที่เกิดขึ้นภายหลัง ไม่มีในพระไตรปิฎก ตอนหลังๆ นี้ บทที่มามากกว่าการอวยชัยให้พรอีก ตั้งจิตปรารถนาดี มักจะเลยไปทางคล้าย ๆ เกือบจะอ้อนวอนเสียแล้ว บทสวดประเภทนี้เกิดที่หลังทั้งนั้น ก็แต่งกันขึ้นมา ก็เป็นอันว่าครบแล้ว
ทีนี้มาพูดถึงบทสวดมนต์ของเรา ที่ใช้ประจำวันของเรา ก็มาจัดแป็นบทสวดประจำวัน บทสวดประจำวัน ขอทำความเข้าใจก่อนว่า เป็นเรื่องที่ จัดขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในสำนักเท่านั้น ไม่ใช่ว่าเขาสวดประจำวันกันอย่างนี้ หมายความบทสวดมากมาย แต่ทีนี้บางบทพระเราก็สวดกันเป็นประจำ แล้วก็ควรเอามาทบทวนหรือบางบทก็ไม่ค่อยได้ใช้ ก็ควรจะจำไว้ด้วย เรามีเวลา 7 วัน บทสวดก็มีมากมาย ในวันเดียวนั้น จะสวกหมดก็ไม่ไหว ทำไงดี ก็มาจัดกันใน 7 วันนั้น เอาบทสวดมนต์มาทบทวนกันบ้าง หรือมาจัดเพื่อให้มีโอกาส ได้สวดบ่อย ๆ จะได้จำให้แม่นบ้าง ท่านก็จัดของท่าน แล้วแต่ท่าน จะเห็นสมควร ทีนี้ของเรา เราจึงจัดก็มาดูว่าตอนนั้น พระก็มีไม่กี่องค์ พระก็มาจากพระเก่า ซึ่งสวดบทสวดมนต์ต่าง ๆ
ก็ได้มามากแล้ว ก็เลยมาจัดว่า วันอาทิตย์ วันจันทร์นี่เอาบทสวดที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ ซึ่งเป้นบทสวดที่ใช้มาก แต่ทีนี้วันอาทิตย์ จะเป็นบทสวดที่ใช้มาก ใช้ประจำ เช่น มงคลสูตร ทีนี้หลายบทที่ใช้ประจำ ใช้กันได้คล่องอยู่แล้ว ตอนนั้นก็เป็นระยะแรกๆ เอ๊ะ บทสวดมีเยอะ ก็ตัดๆ ออกสะบ้าง เพราะฉะนั้น บทสวดมนต์วันอาทิตย์ที่จริงไม่ครบ บทสวดที่ใช้ประจำยังมีอีก จะเห็นได้ว่า พระที่มาสวดประจำ เป็นพระเก่า หลายบทก็น่าจะคล่องเหลือเกิน ไม่จำเป็นเลย ที่จะต้องมาสวดอีก ก็เลยไม่เอามาใส่ เพราะฉะนั้น เรื่องมันเลยยังค้างอยู่ว่า บทสวดยังไม่ครบ นี่เป็นเรื่องความเป็นมาของสำนัก บทที่ 1 ก็ใช้น้อยหน่อย แต่ให้จำไว้นะ วันจันทร์นี้เป็นบทสวดเดียวกับวันอาทิตย์ ใช้ในงานมงคล แต่เป็นบทที่ใช้น้อยหน่อยหรือน้อยกว่า
ทีนี้วันอังคาร ก็เป็นบทสวดพิเศษ เชนบทสวดงานมงคลในงานพระราชพิธีในวัง ก็อาจจะอยู่ในประเภท 1 และ 2 แต่ใช้พาะในวัง ข้างนอกไม่ใช้??? บทสวด??? เป็นบทสวดพิเศษ ทีนี้ก็น้อยไป ก็เลยเพิ่มมาอีก เอาบท ??? ณ ข้อที่บรรพชิตควรพืจารณา 1-10 ประการ ซึ่งเป็นของเหมาะสำหรับพระสงฆ์ ซึ่งเป็นข้อพิจารณาชีวิตของตนเอง การประพฤติปฏิบัติของใจ บางวัดก็สวดเป้นประจำทุกวันเลย ทีนี้เราก็เอามาแทรกไว้ในวันอังคาร เป็นบทสวดพิเศษด้วย ต่อไปก็จะเพิ่มอีกนิด ที่คิดไว้น่าจะเพิ่มอีกเยอะ เป็นบทสวดเกี่ยวกับสังฆวัตถุ ซึ่งเป็นบทสวดพิเศษ
ต่อไปวันพุธ ก็เปลี่ยนมาเป็นงานอวมงคล เป็นงานศพ บทสวดมาติกา บทสวดอภิธรรม 7 คัมภีร์ ที่ใช้ในงานศพ แต่เราไม่ต้องถือ จริงที่ลือกเอาบทสวดอภธรรมไปสวดในงานศพ เพราะเขาต้องการสิ่งที่เป็นหลักคำสอนสำคัญเลย ซึ่งมักจะเป็นงานศพบิดามารดา เพราะนั้นการจัดงานศพที่สำคัญที่สุด คือ จัดให้บิดามารดา เป้นยอดของผู้มีพระคุณ ก็ต้องให้ดีที่สุด โบราณเขาถือกันว่า พระอภิธรรมเป้นคำสอนที่ยอดสุด โบราณถือกันมาแบบนี้ เหมาะสำหรับใช้ตอบแทนคุณบิดามารดา ฉะนั้น เวลาสร้างคัมภีร์ก็นิยมสร้างพระอภิธรรมตอบแทนคุณบิดามารดา ฉะนั้นเวลางานศพ ก็สวดคัมภีร์ที่ถือว่าเยี่ยมยอด ก็คืออภิธรรม นอกจากนั้น อภิธรรมก็เป็นหลักธรรมกว้างๆ ด้วย ให้พิจารณาความจริงของธรรมก็รวมทั้งชีวิตด้วย ก็ได้ทั้ง 2 แง่ ทั้งได้ตอบแทนพระคุณ ทั้งสัจธรรม ความจริงของธรรมชาติแหละชีวิต
วันพฤหัสบดี ในงานศพนั้น บทสวดอภิธรรม จะใช้ในงานพิธี เช่น มาติกา สวดอภิธรรม ตอนกลางคืน เวลาสวดพระพุทธมนต์ ที่คู่กันกับเจริญพระพุทธมนต์ เจริญพุทธมนต์ ฉันเพล งานอวมงคล ก็มีสวดพระพุทธมนต์ ฉันเพล เอามาอีกชุดหนึ่ง บทสวดพระพุทธมนต์ สำหรับงานอวมงคล ก็ไปอยู่วันพฤหัส ก็มีบท??? เป็นบทเตือนใจให้ระลึกถึงความจริงของชีวิต เกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่น บทยถาพิเสลา??? ก็บอกว่า เปรียบเหมือนภูเขาหิน เป็นแท่งทึบกลิ้งมาจากทิศทั้ง 4 บดขยี้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีทางหนีรอดไป ความแก่ ความตาย ก็บดขยี้สรรพสัตว์ ทั้งหลายฉันนั้น เป็นคติเตือนใจ และมีบทอื่นๆ ที่ว่า คนใดที่ว่าเจริญธรรมะ 5 ประการ มีศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา มีชีวิตไม่ว่างเปล่า เท่ากับ คนที่ตายไปแล้ว ก็ถ้าได้ธรรมะเหล่านี้ ถ้าเป็นชีวิตที่มีค่า ได้เราทั้งหลายประพฤติปฏิบัติ โดยเจริญธรรมะเหล่านี้ ต่อไปเราก็ต้องตายเหมือนกัน จะได้มีชีวิตที่ไม่ว่างเปล่า ไม่เป็นโมฆะ ก็เป็นบทสวดเตือนใจ ให้ดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท ให้สร้างสรรค์คุณงามความดี ให้รู้ความจริงของชีวิต นี่เป็นบทสวดพระพุทธมนต์ในวันพฤหัสบดีในงานอวมงคล โดยปกติจะใช้ตอนสวดมนต์และก็ฉันเพลต่อ
ต่อไปวันศุกร์ เป็นที่รวมของบทอนุโมทนา ให้พร เวลาพระสวดมนต์แล้ว ฉันเสร็จแล้ว ไปอยู่วันศุกร์ ก็มีการอนุโมทนา ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล ก็มีหลายบทยังไม่หมดหรอก เอาไว้เฉพาะที่ควรจะใช้ก่อน เพราะว่าเยอะแล้ว ต่อไปวัดก็มีพระมากขึ้น ต่อไปอาจจะต้องใส่ให้เต็มให้ครบเสีย
วันเสาร์ บทพิเศษบทใหญ่ เอาไว้สวดธัมจักกัปปวัตตนสูตร วันเสาร์ เพราะธัมจักฯ บทเดียวก็พอแล้ว วันนั้น ยาว บทสวดธัมจักฯ เดี๋ยวนี้นิยมใช้ในงานวันเกิดใหญ่ๆ ก็จะไปแทรกเสริมเข้าไปในบทสวดวันอาทิตย์ ที่เป้นบทสวดเจริญพุทธมนต์ในงานมงคล วันเกิด ก็ต้องใช้ด้วย งานใหญ่ก็นิยมเอาธัมจักกัปปวัตตนสูตร เข้าไปแทรกเพิ่มอีก 1 สูตร ความจริงงานศพเขาก็มีนะ บทสวดใหญ่ๆ 7 วัน ให้สวดบทนี้ 50 วัน สวดบทนี้ก็มี ตอนนี้เรามาใช้ธรรมนิยามมาสวด ที่จริงเขามีอาทิตปริยายสูตร อนัตลักสูตร??? แต่เดี๋ยวนี้แทบจะไม่มีงานไหนสวดแล้ว ก็สวดธรรมนิยามสูตร??? ที่มีอยู่แล้ว ในวันพฤหัสฯ เป็นพื้น อันนี้ก็เป็นอันว่าทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของบทสวดที่มีในหนังสือ ที่เรามาสวดกันเป็นประจำวันในตอนค่ำ หลังจากทำวัตรค่ำ เป็นบทสวดต่อท้าย ก็เป็นเรื่องชีวิตประจำวันส่วนหนึ่ง ก็เอามาเล่าถวายให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสิ่งที่เราเกี่ยวข้องประจำวัน เพราะผ่านไปแล้วก็ไม่เข้าใจสิ่งที่ตนทำ
ถ้าสงสัยอะไร ก็นิมนต์นะ จะได้ถาม สิ่งที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ท่านก็เก็บเอามาถาม
คำถาม ??? (ไม่ค่อยได้ยินเสียง)
ตอบ งานพุทธมนต์ งานมงคล ก็จะมีการชุมชุมเทวดา ฉะนั้นวันอาทิตย์ก็เป็นเจริญพุทธมนต์ เป็นงานมงคลก็ชุมนุมเทวดา วันจันทร์ก็ชุมนุมเทวดา วังอังคารก็อยู่ในบทสวดพิเศษ ที่บทสวดในวัง ก็ยังอยู่ในงานมงคล ก็มีชุมนุมเทวดาด้วย ธ พฤหัส ไม่ต้อง เพราะเป็นงานอวมงคล ทีนี้วันศุกร์เป็นบทสวดอนุโมทนา ก็ไปเพียงอยู่กับงานมงคลเป้นส่วนมาก ก็เลยเอาชุมนุมเทวดาเสียด้วย และก็แม้จะมีบทสวดงานอวมงคล ก็แทรกอยู่นิดเดียว อนุโมทนาก็มีงานอวมงคลด้วย
อธาสิเมไง??? และก็วันเสาร์ ธัมจักฯ ก็บทเจริญพุทธมนต์ โดยเฉพาะวันเกิด ก็ไปแทรกในงานมงคลเหมือนกัน ก็ชุมนุมเทวดาด้วย ชุมนุมเทวดา เคยอธิบายแล้วนะ ว่าให้โอกาสเทวดา ชวนเทวดามาฟังธรรมพระพุทธเจ้า ท่านจะได้เอาธรรมะนี้ ไปขัดเกลากิเลสของตนเอง ได้พัฒนาชีวิตของท่านให้ดีขึ้น
คำถาม??? (ไม่ได้ยิน)
ตอบ ก็เป็นประเพณี ไม่อยากให้เทวดามายุ่ง เทวดาอาจจะไม่ค่อยชอบงานแบบนี้
คำถาม คาถาชินบัญชร แต่งอีทีหรือไม่ ???
ตอบ แต่งขึ้นภายหลัง ไม่นาน เป็นของยุหลัง คล้ายๆว่า มาค้นพบกันใหม่ หลังจากที่เลือนรางไปนาน ก็เข้าใจว่าเป็นของสมเด็จโต (สมเด็จพุทธาจารย์ โต วัดระฆัง) เข้าใจกันว่างั้น ต่อมาปรากฏว่าในลังกามี ไปเจอเข้าทีหลัง ในลังกาเก่ากว่า แสดงว่าเข้ามาจากลังกาอีกทีหนึ่ง แต่ไม่ทราบว่าแต่งเมื่อไหร่ อย่างบมสวดงานศพ ก็ยังมีบทสวดพระมาลัย อันนั้นก็เป็นประเพณี ก็เป็นเรื่องหลังพุทธกาลนาน เกิดในลังกา เรียกว่า มารยชนบท??? ในลังกามี ก็เป็นตำนาน
พาหุงก็เป็นบทที่เอาเนื้อเรื่องความในสมัยพุทธกาล ตำนานเรื่องประวัติ ความเป็นไปในพุทธประวัติ เอามาเรียบเรียง แต่งขึ้น วางแผนทีหลัง อิงอาศัย เหมือนเขาแต่งเรื่องอิงประวัติศาสตร์ เป็นการสรุปเรื่องราวที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าได้ ทรงมีชัยชนะบุคคลหรือสัตว์ต่าง ๆ ที่เป็นผู้ร้ายเข้ามา กลับให้เป็นดีไป ก็ถือว่าเป้นบทชัยชนะ ก็เอามาตั้งเป็นบท เรียกกันง่ายๆ ว่า พาหุง เพราะเริ่มต้น สวดพาหุง ขึ้นนำหน้า จึงเรียกบทพาหุง เรียกกันว่า บทถวายพรพระ ซึ่งบทถวายพรพระ ก็มีบทพาหุงนี้เป็นหลัก แต่งตามบทสวดที่สวดในพิธีแบบนั้น สั้นๆ ในพิธีพระพุทธมนต์ บทเต็มก็แค่ถวายพรพระ การสวดที่ดี อย่างที่ว่าแล้ว ก็น้อมนำศรัทธาภาษา ธ. ??? เพราะเสียง??? นี่มันเป็นเสียงเทียบเคียงกับการพร้อมเพรียง ศัพท์ก็ใช้ศัพท์เดียวกัน คตะ แปลว่า เพลง การสวดก็ใช้ คีติ เหมือนกัน อย่าวสวดสังคายนา สังคีติ คีติ แปลว่า สวดพร้อมกัน สัง??? แปลว่า พร้อมกัน คีตะ ก็เพลง คีติ ก็การสวด นี่ก็ศัพท์ภาษบาลี ก็สังคายนา นี่ก็คือ พร้อม สังคายนา แปลว่า การสวดพร้อมกัน ทีนี้ตัวสังคายนา ก็แปลว่า การร้องเพลงก็ได้ ทีนี้ร้องเพลงของชาวบ้าน ในหลายกรณี เป้นการร้องเพื่อยั่วยวน ล่อเล้าในเรื่องกามารมณ์ แต่ก็มุ่งความไพเราะ แต่ความไพเราะนั้น จะสื่อไปถึงเรื่องกามมาก แต่เพลงบางอย่าง ก็จะมีลักษณะที่โน้มสู่ความสงบ หรือทำให้จิตใจได้ระลึกถึงสิ่งที่ดีที่สุด สูงส่งขึ้นไปก็มี ทีนี้บทสวดของพระ มันก็เป็นฝ่ายนี้ ฝ่ายที่จะโน้มจิตไปสู่ความดีงาม ความสงบ มันก็เป็นคู่เทียบกัน จะเรียกว่าดุลกันก็ได้ เพลงร้องในกาม นี่มันก็เป็นบทสวด ที่มุ่งความสงบ ความดีงามที่ว่า เมื่อฟังสวดแล้วจิตใจนึกถึงเรื่องธรรมะ นึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ในพระไตรปิฎก ยังมีเลย มีบทเพลงบทหนึ่ง เข้าไปอยู่ในพระไตรปิฎก ชื่อ สักกะปัณณะสุ ??? ก็เป็นเรื่องของเทพบุตรท่านหนึ่ง ไปเกี้ยวเทพธิดา ก็ขับเป็นเพลง แต่เพลงนี้ถึงกับได้เข้าไปอยู่ในพระไตรปิฎก เป็นพระสูตรหนึ่ง ฉะนั้นในทางพระพุทธศาสนา ก็จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องเพลงอยู่ เช่น ในปาฐกถานี้ ท่านเล่าถึงพระพุทธเจ้า เคยแต่งเพลงให้มานพ มานพเขาจะไปเกี้ยวสาว ทีนี้บทเพลงนี้ก็จะเป็นเหมือนกลอน ที่เขาเรียกว่าขับ การขับนี่ก็คือร้องเพลงนั่นแหละ เนื้อหาจะเป็นเรื่องธรรมะ นำจิตไปสู่ความดีงาม เพราะฉะนั้น แม้แต่ในเรื่องกามารมณ์ ทำอย่างไรจะให้ธรรมะเข้าไปแทรก เพื่อจะดึงจิตของเขาไปสู่ความดีงามบ้าง
มิฉะนั้น ก็จะถูกดึงไปข้างเดียว ยั่วเย้ากันและก็หยาบลงไป หยาบลงไป ใช่ไหม ทีนี้เราจะปล่อยโดยไม่ยุ่งไม่เกี่ยวเลยหรือ ในทางพุทธศาสนา จะเห็นว่าท่าทีในเรื่องนี้ ก็คือ การที่ว่า เราจะต้องไปพบกับคนในจุดที่เป็นอยู่ และจุดมุ่งหมายของเราชัดเจน ก็คือช่วยเขาในจุดที่เราเมตตา ทำไงจะดึงเขาขึ้นมาสู่ความดีงามยิ่งขึ้น ถ้าเราไม่ไปพบกับเขา ณ จุดที่เขายืนอยู่ เขาก็ไม่ยอมกระโดดข้ามมาหาเราเช่นกัน ทีนี้ก็ขึ้นต่อสภาพแวดล้อม และขึ้นต่อพื้นฐานของผู้คนเหล่านั้น ทั้งความสามารถของผู้สอนเองด้วย ผู้สอนบางท่าน อาจจะสามารถพูดนิดเดียว ทำให้คนก้าวกระโดดมาจากจุดที่เขายืนอยู่มาหาตัวเองได้ เราจะไปมองอย่างนั้นทั้งหมดก็ไม่ได้ เพราะพระ หรือผู้สอนก็มักมีความสามารถไม่เท่ากัน ต้องนึกเผื่อไว้ด้วย อย่าเอาตนเองเป็นประมาท ถ้าจะให้ได้ ต้องทำอย่างฉันเท่านั้น เราต้องนึกถึงท่านผู้อื่นด้วย คนที่รับฟังก็มีอุปนิสัยแตกต่างกัน เป็นความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝ่ายผู้สอนก็เช่นเดียวกัน ก็มีความสามารถไม่เหมือนกัน เมื่อมองกว้างๆ อย่างนี้แล้ว ก็จึงต้องมีความยืดหยุ่น มีความหลากหลาย แต่ว่า ก็จะมีขอบเขตอย่างที่พูดมาว่า เกณฑ์อย่างต่ำจะต้องไม่เลยเถิดไปอย่างนี้ แล้วก็อย่างมาก มันก็จะมีเกณฑ์อยู่ ภายในขอบเขตอย่างต่ำ อย่างมากอันนี้ก็จะยืดหยุ่นให้ใช้ จะเหมาะสมที่จะได้ผล แล้วก็ขึ้นต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล หมายถึง ความแตกต่างระหว่างผู้ฟังฝ่ายหนึ่ง แล้วก็ความแตกต่างระหว่างผู้สอนอย่างหนึ่ง องค์ประกอบเหล่านี้กว่ามันจะบรรจบกันพอดี ก็มัชฌิมาปฏิปทา ผลสำเร็จก็เกิดขึ้น เวลานี้เรามักจะเห็นที่ว่า จะเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ตายตัว เอามาตรฐานของตัวเข้าว่า ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งด้วย แล้วก็จะทำให้เสียผลที่ควรจะได้ไป นี่ก็เป็นเรื่องที่นำมาพูดไว้ในที่นี้ด้วย ที่จริงไม่ได้ตั้งใจจะพูดเรื่องนี้ แต่ว่าพูดถึงบทสวดเหล่านี้ ก็มีความประสงค์ที่จะโน้มจิตของคนเข้าสู่ธรรมะ แม้แต่การรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เป็นการสาธยายคำสอน ก็เป้นการสังคีติ เป็นการสวด ซึ่งใช้ศัพท์เดียวกับการขับเพลง แต่จะเป็นทพนองที่ว่าระวัง อย่างที่ว่าแล้ว ทำนองจะต้องอยู่ในลักษณะที่จะโน้มจิตมาสู่ความดีงามและความสงบ เรื่องของธรรมะ และก็ต้องทำด้วยความตั้งใจ สำหรับพระนั้น ความตั้งใจ เมื่อเราสวดในพิธี ก็คือ ความตั้งใจปรารถนาดี มีเมตตา อย่างนี้อยู่เสมอ การกระทำมันก็จะดีไปด้วย มิฉะนั้น มันก็อาจจะไปมัวไปสวดธรรมตามพิธี มีพิธีก็ทำพอเป็นพิธี ซึ่งคำว่าพิธี มันก็เป็นความหมายว่า สักว่าทำ ไม่ได้ตั้งใจ เสร็จ ๆ ไป ไม่มีความมุ่งหมายอะไร ผลก็เลยไม่เกิดขึ้น ก็ขอหยุดเรื่องนี้ไว้ก่อน
ก็ได้พูดถึงเรื่อง บทสวดที่นำมาจัดวันเสาร์ว่า จัดบทสวดธัมจักฯ เข้าไป บทสวดนี้ที่จริง ก็เป็นพระสูตร เรียกว่า
“ธัมจักกัปปวัตตนสูตร” เป็นพระสูตรใหญ่ยาวพอสมควร ก็ได้บอกไปว่า “ธัมจักกัปปวัตตนสูตร” โยมใช้สวดในงานวันเกิดที่ใหญ่ ทีนี้เดี๋ยวจะเผลอไปนึกว่าเหตุผลในการที่จัดเข้ามานี้ เป็นบทสวดในพิธีวันเกิด เท่านั้น ที่จริงไม่ได้มุ่งแค่คำว่าไปใช้สวดในวันเกิดใหญ่ๆหรอก ที่เอาเข้ามาในการสวดนี้ คือ มุ่งความสำคัญของพระสูตรนี้ ว่าพระสูตรนี้เป็นพระสูตรสำคัญมาก เป็นปฐมเทศนา เป็นพระธรรมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้า แล้วก็ชื่อว่า “ธัมจักกัปปวัตตนสูตร” แปลว่าสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หมายความว่า พระพุทธเจ้าเริ่มประกาศพระศาสนา หรือประดิษฐานอาณาจักรธรรมก็ได้ เป็นครั้งแรก เพราะนั้น พระสูตรนี้มีความสำคัญ ทั้งในแง่เหตุการณ์และความสำคัญทั้งในแง่เนื้อหา ประกาศหลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนา ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง และก็โยงเข้าไปหาหลักการที่ใหญ่กว่านั้น ซึ่งครอบคลุมหมด คือ หลักอริยสัจ 4 โดยพระพุทธเจ้า ทรงเริ่มด้วย มัชฌิมาปฏิปทา เป็นจุดที่มาเชื่อมต่อระหว่างลัทธิแนวความคิด ข้อปฏิบัติของยุคสมัย ว่าเขามีการปฏิบัติ การดำเนินชีวิตกัน 2 แบบ ที่ทางพระพุทธศาสนา มองว่าเป็นเรื่องสุดโต่ง เชื่อมโยงมาจากสภาพความเป็นจริงของยุคนั้น พวกหนึ่งก็เป็นพวกที่หมกมุ่นในกามาสุข เรียกว่า กามาสุข??? และก็อีกฝ่ายหนึ่ง ก็คือว่า มุ่งไปในแง่ของจิตใจ จนกระทั่งว่า ละทิ้งเรื่องวัตถุ เรื่องทางกาย ทรมานร่างกาย เพื่อปลดปล่อยจิต ก็เรียกว่า เป็นที่สุดแห่งการทรมานตนให้ลำบาก เป็น อัตถกิลามาถานุโยค??? นี่เป็นสภาพของความประพฤติ ปฏิบัติ และลัทธิความเชื่อในยุคพุทธกาล ก่อนที่พระพุทธเจ้า จะประกาศศาสนา พระพุทธเจ้าก็ประกาศศาสนา ท่ามกลางสภาวะเหล่านี้ คือ ข้อปฏิบัติและความเชื่อ แสดงความคิดที่สุด 2 อย่าง ที่ว่า กามาสุขานิกานุโยค กับ ??? พระองค์ก็ทรงประกาศทางสายกลางที่หลีกเลี่ยง ละ เลิก จากที่สุด 2 อย่างนั้น เกิด มัชฌิมาปฏิปทา เป็นข้อปฏิบัติในทางศาสนา
มัชฌิมาปฏิปทา นี้ก็ คือ หลักปฏิบัติที่อยู่ในหลักการใหญ่อีกที ที่ครอบคลุม คืออริสัจ 4 พระพุทธเจ้าก็โยงจากมัชฌิมาปฏิปทา อีกที ก็คือ อริยสัจ 4 แล้วประกาศให้เห็นว่า ที่พระองค์ได้ตรัสรู้ นี่ก็คือ ตรัสรู้ อริยสัจ 4 ถ้าพระองค์ไม่ตรัสรู้อริยสัจ 4 นี้ โดยครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว พระองค์ก็จะไม่สามารถปฏิญาณ พระองค์ว่าตรัสรู้แล้ว ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ อันที่เป็นพระสูตรที่ประกาศหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนา ทั้งหลักการใหญ่และข้อปฏิบัติ พร้อมทั้งเป้นเครื่องยืนยันว่า พระสัมมาสัมโพธิญาณ บอกให้รู้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
ก็จึงนำมาจัดเข้าเป็นบทสวดมนต์สำคัญ โดยที่ประสานกันกับบทสวดปัจจุบัน ก็คือว่า เป็นบทสวดในวันเกิดใหญ่ อย่างที่ว่าไปแล้ว ก็ได้ความหมายทั้ง 2 ข้อ แม้แต่ที่เอาไปจัดเป็นบทสวดในวันเกิดใหญ่ๆ ก็คงจะมองความหมายในแง่นี้ด้วย ว่าเป็นพระสูตรสำคัญ ก็ถือว่าเอาพระสูตรนี้มาเป็น ปฐมเทศนา ก็เป้นมงคลอันยิ่งใหญ่ นี่ก็เป็นเรื่องของเหตุผล เป้นเรื่องปลีกย่อย เกร็ดๆ เอามาเล่าถวายไว้