แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
พระพรหมคุณาภรณ์ : นั่งสมาธิดีขึ้นบ้างไหม? ดีขึ้นหรือ? ดีขึ้นก็น่าพอใจ ดีขึ้นหมายความว่านั่งสบายขึ้นหรือไง?
เณร : จิตใจก็ดีขึ้น แต่ว่าเมื่อย
พระพรหมคุณาภรณ์ : นั่งสบายแต่เมื่อยหรือ แต่ใจสบายก็ใช้ได้ พอใจที่จะนั่งไหมนี่? พอใจก็ดี เพราะว่าพอใจได้สบายได้นี่ก็นับว่าเก่งแล้วเพราะว่าเรื่องจิตนี้มันไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ นะ เรื่องทางกายยังจับต้องได้ เอามาดัดเอามาบิดได้ จิตนี้มันจับไม่ได้มันไม่มีตัวให้เห็น เพราะฉะนั้น เรื่องจิตนี้ยากมาก ท่านบอกว่ารักษายาก ถ้ามันจะทำอะไรในทางไม่ถูกต้องก็ห้ามยาก แล้วจะจับมันส่งไปในทางที่ต้องการให้มันไปในทางดีนี้มันก็ไปยากอีก เรื่องจิตนี้ยากมาก ถ้าใครบังคับให้จิตนี้อยู่ในอำนาจได้คนนั้นก็เก่งมาก
อย่างที่เคยเล่าแล้ว อย่างนโปเลียนนี้พวกนี้เขาเรียกว่าต้องมีความสามารถบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจของตัวเอง พระพุทธเจ้ายังสั่งไว้บอกว่า ที่เรียกว่า มหาบุรุษนั้น ในความหมายหนึ่งก็คือว่ามีอำนาจเหนือจิตของตัวเอง ต้องการจะคิดเรื่องอะไรก็คิดเรื่องนั้น ไม่ต้องการจะคิดเรื่องอะไรก็ไม่คิดเรื่องนั้น คนธรรมดาทำยากนะ ยาก อย่างเราอยากจะคิดเรื่องนี้มันไม่ยอมอยู่ ไปคิดซะเรื่องอื่น ไอ้เรื่องที่เราไม่ต้องการจะคิด ไม่น่าคิด อ้าว! มันไปคิดซะนี่ นี่ จิตมันยากอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงให้ฝึกตัวเอง และก็เป็นของที่ต้องได้มาด้วยการฝึก ไม่ใช่ของที่ได้มาง่าย ๆ แต่ชีวิตของคนเราก็เป็นธรรมดานะ เคยได้ยินคำว่า ชีวิตไม่ใช่ทางเดินที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ เคยได้ยินไหม? เออ นี่แหละ ฝรั่งเขายังว่าเลยนะ ตอนนี้เรายังอยู่กับโยมพ่อโยมแม่นี้ก็มีอะไรมันก็ไม่ยาก เพราะโยมพ่อโยมแม่นี้จัดการให้ แต่ที่เราเตรียมนี้ศึกษาเล่าเรียนฝึกฝนตนเอง เพราะว่าต่อไปเราต้องรับผิดชอบตัวเอง เมื่อรับผิดชอบตัวเองแล้วมันจะต้องเผชิญกับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเราจะต้องใช้ความเพียรพยายาม ทีนี้ ถ้าเรามีความเพียรพยายาม ใจสู้ ไม่ท้อถอยและก็ฝึกฝนตนเองพัฒนาตัวไว้ดีแล้วนี้ เรื่องยากก็กลายเป็นเรื่องง่ายอย่างน้อยใจเราก็พร้อมที่จะสู้ ขอบอกว่า ผลสำเร็จมิใช่สิ่งที่จะได้มาโดยไม่พากเพียรพยายาม แต่ในทำนองเดียวกัน ตรงกันข้ามบอกว่า ไม่มีอะไรเหลือวิสัยความเพียร พระพุทธเจ้าท่านตรัสบอก คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร เมื่อมีความเพียรแล้วก็เอาชนะได้ แม้แต่จิตของเรานี้ก็มันยากก็ให้มันรู้ไป ก็ต้องฝึกต้องฝืน แต่ก็ต้องมีความตั้งใจจริง ใจเข้มแข็ง เพราะฉะนั้น อย่าไปท้อถอย ถ้าใครบอก โอ้! แหมมันลำบากจริง ทำจิตให้มั่นคงให้เป็นสมาธินี้ยากเหลือแสน ท้อซะมันก็ไม่สำเร็จ ถ้าเราตั้งใจจริงก็ทำได้ จิตใจเข้มแข็งนี่เกิดกำลังใจขึ้นมา-ไปได้ หนึ่งต้องมีศรัทธา มีความเชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์ ถ้าทำได้สำเร็จ ความเชื่อว่าดี น่าทำ มีคุณค่านี้ทำให้เราเกิดกำลังใจขึ้น พร้อมมีความเพียรพยายาม ใจสู้ ไม่ถอย เข้มแข็งนี้ก็กำลังใจเกิดขึ้นมา เพราะฉะนั้น เราควรจะต้องมีที่ว่าเอาพุทธภาษิตอันไหนก็ได้มาเตือนใจเรา อย่างบอกว่า วิริเยนะ ทุกขะมัจเจติ คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร หมายความว่า จะเอาชนะความลำบากยากเย็นได้ด้วยความเพียรพยายาม
เอาละ เณรก็น่าอนุโมทนาที่ว่าทำแล้วไม่รู้สึกว่าไม่ถอดใจหรือได้ผล นั่นก็แสดงว่าเป็นความสำเร็จอย่างหนึ่ง-ทำกันต่อไป
ทีนี้ วันนี้อยากพูดเรื่องสามัคคีซักนิดหน่อย เพราะว่ามันเป็นเรื่องที่อยู่ในชุดเดียวกัน วินัยมา สามัคคีมา ทีนี้ สามัคคีนี้ก็แปลว่าความพร้อมเพรียงอย่างที่เคยว่าไปแล้ว แบ่งได้เป็น ๒ อย่าง คือความสามัคคีทางกาย และทางใจสามัคคี อย่างเรามานั่งพร้อมเพรียงกันในที่นี้เรียกว่า กายะสามัคคี กายเราพร้อมเพรียงกันนี้ เรามานั่งพร้อมกันหมดเลยนี้เรียก พร้อมเพรียงทางกาย แต่ว่าใจเราไม่แน่ เห็นไหมว่าเณรเป็นกายมาอยู่ที่นี่สามัคคีพร้อมเพรียงกัน แต่ใจไปอยู่ซะที่โน่น อยู่ที่บ้าน หรือไปอยู่นอกวัดอย่างนี้ เรียกใจไม่สามัคคี ใจไม่พร้อมกัน หรือจะทำอะไรซักอย่างหนึ่งเราก็ถูกสั่งหรืออะไรมาโดยไม่สบายใจแต่ว่ากายมาพร้อมกันจะมาทำ แต่ใจไม่อยู่ด้วย ไม่รักที่จะทำอย่างนั้นก็แสดงว่ามีแต่ความสามัคคีทางกายไม่มีความสามัคคีทางใจ แต่ถ้าใจเราพร้อมกันอยากทำอย่างนั้น รักที่จะทำ ร่วมแรงและร่วมใจกันด้วย เรียกว่ามี จิตตะสามัคคี เรียกว่ามีความพร้อมเพรียงทางจิตใจ ทีนี้ กายะสามัคคีก็จำเป็น ถ้าเราไม่มาพร้อมกัน ถึงเวลาสมมติว่าจะทำงานซักอย่างไม่มาพร้อมกันมันก็ทำไม่ได้ แต่ทีนี้ ถึงกายมาพร้อมกันแล้วแต่ใจไม่สามัคคี ใจไม่พร้อมกัน ไม่พอใจกัน ขัดแย้งกัน เกี่ยงกันอะไรอย่างนี้นะก็ทำไม่ได้ผลเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ต้องทั้ง ๒ อย่าง ทั้งกายะสามัคคีและจิตตะสามัคคี เรามีวินัยนี้ช่วยให้เกิดกายะสามัคคี วินัยจะบอกกำหนดเลยให้มาประชุมกันตั้งใจสามัคคีสุด วินัยนี้เป็นตัวสำคัญที่จะให้เกิดกายะสามัคคี แต่ว่าไม่เป็นหลักประกันว่าจะมีจิตตะสามัคคีด้วยไหม ฉะนั้น อะไรที่จะทำให้มีจิตตะสามัคคีลองทายสิ? วินัยนี้คู่กับอะไร? อย่างเมื่อคืนนี้ก็พูดมาทีหนึ่งแล้ว วินัยได้อีกด้านหนึ่ง อย่างคุณสมบัติของสมมติสงฆ์นี้เอาวินัยกำหนด แล้วอริยะสงฆ์นี้เอาอะไรกำหนด? เมื่อคืนนี้จำได้ไหม? พอมีวินัยว่าตามวินัยก็เกิดสมมติสงฆ์แล้วใช่ไหม? คราวนี้ในใจนี้จะต้อง ...(เสียงขาดหาย นาทีที่ 08.42)
เพราะฉะนั้น โสดาบันอะไรต่าง ๆ นี้กำหนดด้วยอะไร? ต้องบรรลุอะไร? นั่น เพราะฉะนั้น จะต้องเอาธรรมะใช่ไหม? ธรรมะเป็นตัวทำให้เกิดอริเพราะนั้น จิตตะสามัคคีจะได้ด้วยอะไร? ด้วย ธรรมะ ด้วยธรรมะเกิดขึ้น มีความพอใจในสิ่งที่ทำ นี่ อย่างนี้เรียกว่าธรรมะแล้วและฉันทะ ใช่ไหม? นี่ มีความเพียร มีความรักกัน มีความเมตตาต่อกัน มีไมตรีจิตต่อกัน อย่างนี้เรียกว่า ธรรมะทั้งนั้นใช่ไหม? นี่ ธรรมะนี้ทำให้เกิดความพร้อมเพรียงทางใจและจิตตะสามัคคี ถ้าได้ทั้ง ๒ อย่างนี้ ได้ทั้งวินัยและธรรมะ ก็ได้ทั้งกายะสามัคคีและจิตตะสามัคคี เพราะฉะนั้น อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ว่า เป็นเรื่องที่เราจะต้องเข้าใจว่า ธรรมะกับวินัยนี้คู่กันไปเรื่อย ๆ เลย ถ้าไม่มีวินัยเราไม่มีกายะสามัคคี ใจเราพร้อมแต่ไม่ได้เริ่มสักที ไม่มีรูปแบบไม่มีเครื่องมาทำให้เรารวมกันได้ ให้ตัวเรามา วินัยนี้ทำให้ตัวเรามา แต่ตัวเรามาถ้าใจเราไม่เอาด้วยก็เรียกว่ามีแต่ตัว-ใจไม่มี ใจไม่ร่วมก็ไม่ได้ผลดี ก็ต้องให้มีธรรมะในใจด้วย ถ้าได้จิตตะสามัคคีพร้อมใจก็จะทำงานก็สำเร็จ ต้องมีทั้ง ๒ อย่าง เพราะฉะนั้นก็ จะร่วมแรงอย่างเดียว จะร่วมให้จริงต้องมีร่วมใจด้วยนะ เพราะฉะนั้น ท่านถึงพูดว่าร่วมแรงร่วมใจ ไม่ใช่มาแต่กายนั้นไม่พอต้องมาด้วยใจด้วย ใจต้องมาด้วย อย่างน้อยก็จะทำให้เกิดพรักพร้อมเป็นเอกภาพ
ก็ตกลงว่า วินัย และ ธรรมะนี้สำคัญทั้ง ๒ เรื่อง วินัยทำให้กายนี้ทำอะไรได้มาตามระเบียบ เข้ามาสู่กฎเกณฑ์ มาสู่ความพร้อมเพรียงเรามานี่ก็ต้องมาตามวินัยใช่ไหม? แต่ใจเราจะมาด้วยหรือเปล่า? ถ้าใจเรามาด้วยนั่นแสดงว่าเรามาด้วยธรรมะ ๒ อย่างก็พอวิบูลย์ พอวิบูลย์เป็นสามัคคีแล้วท่านบอกว่าอย่างไร? สามัคคี วุฑฒิ สาธิกา - ความสามัคคียังความเจริญให้สำเร็จ เมื่อเราพร้อมเพรียงกันทำอะไรก็เจริญก้าวหน้า อย่างประเทศที่มีลัทธิชาตินิยมก็เอาชาตินิยมมาผูกใจคนให้ร่วมใจ ทำอะไรก็พร้อมเพรียงกันก็พัฒนาประเทศชาติได้เจริญ อย่างญี่ปุ่นนี้ก็อาศัยความพร้อมเพรียงมาก ถ้าไม่มีสามัคคีก็ไม่สำเร็จก็ต้องมีวินัยเหมือนกัน วินัยทำให้ญี่ปุ่นรวมกันได้ในทางกายและใจก็มีชาตินิยม ประเทศของเราก็เหมือนกันถ้าเราจะพัฒนาได้ดีนี้ ก็จะต้องมีทั้งวินัยและสามัคคี ก็เป็นอันว่า สามัคคียังความเจริญให้สำเร็จ ถ้าพูดภาษาสมัยใหม่ก็ ต้องมีสามัคคีจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ สามัคคี วุฑฒิ สาธิกา โศลกมีอีกบทหนึ่งบอกว่า สามัคคานัง ตะโป สุโข แปลว่า ความเพียรของคนที่พร้อมเพรียงกันนำความสุขมาให้ ถ้าเรามีความพร้อมเพรียงกันแล้วเราเพียรพยายาม เราก็สามารถทำอะไรให้สำเร็จและเกิดความสุขจริง เราก็อยู่กันเป็นสุขด้วย คราวนี้ก็พูดเรื่องสามัคคีต่อซักนิดหนึ่ง
เอาละ วันนี้ก็ไวหน่อย เณรจะได้มีเวลาพักเยอะ ๆ มีอะไรสงสัยบ้างไหม?
เณร : พระสงฆ์ทั่วไปครับที่แจ้งมาเมื่อวานที่หลวงพ่อบอกว่ามติท่านบรรลุโสดาบัน พระสงฆ์ทั่วไปนี่อย่างไร?
พระพรหมคุณาภรณ์ : พระสงฆ์ทั่วไปนี้ฝ่ายสมมติสงฆ์ไง เราต้องแยกกันเลย (เป็น) สมมติสงฆ์ และถ้าใครบรรลุโสดาบัน สกาทาคามี อนาคามี อรหันต์ก็เป็นอริยะสงฆ์ใช่ไหม? ใช่ไหม? สมมติสงฆ์นี้เอาแน่อะไรไม่ได้หรอก เพราะอยู่ที่ว่าเป็นเรื่องส่วนตัวเฉพาะตัวแล้ว เขาจะมีความสามารถ มีจิตใจบรรลุธรรมจริงหรือเปล่านี้เราไม่สามารถจะไปดูได้ใช่ไหม? เป็นเรื่องเฉพาะจิตของแต่ละคน นี่มันเป็นเรื่องยาก เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงเอาวินัยมาเป็นรูปแบบกำหนด เหมือนอย่างกับปริญญานี้ ถ้าไม่มีกายกำหนดรูปแบบสังคมก็อยู่ลำบากมันไม่มีเครื่องกำหนด เราก็ต้องเอาใบปริญญาบัตร เอ้า! เอามาแสดงที่คุณสำเร็จว่ามีความสามารถชั้นบัณฑิตปริญญาตรีอะไรอย่างนี้ ใช่ไหม? แล้วถึงจะว่าทำงานได้ระดับนี้ ระดับนี้ แต่ที่จริงมันไม่ใช่เครื่องวัดที่เป็นหลักประกันแน่นอน ทีนี้ พระสงฆ์ทั่วไปนี้และก็ท่านมีคุณธรรม เราเชื่อว่าโดนการที่มีวินัย ปฏิบัติตามวินัยได้นี้อย่างน้อยท่านก็มีคุณธรรมระดับหนึ่งใช่ไหม? แต่ว่าจะเอาว่าท่านจะเป็นโสดา สกาทาคาอะไรก็เอา (มา)กำหนดไม่ได้หรอก เราก็เห็นได้ว่าจากความประพฤติของท่านเราก็เชื่อได้ เหมือนนี่จะคนที่มีความรู้ขนาดไหนไม่รู้เลย แต่เขามาแสดงความสามารถทำงานได้อย่างนั้นเราก็ถือว่าเขาต้องมีความรู้ใช่ไหม? แต่เราไปรู้เขาจริงได้ไหม? ไม่ได้ ก็แบบเดียวกันนี้ เพราะฉะนั้น วินัยจึงจำเป็นเพราะเรื่องเกี่ยวกับธรรมะนี้ ไม่สามารถจะไปรู้เพราะมันเป็นเรื่องเฉพาะตัวเลย ก็ต้องแบบนี้ เวลาเรียนแยกให้ถูกระหว่างสมมติสงฆ์ กับ อริยะสงฆ์ นี่ สมมติสงฆ์นี้เหมือนกับเป็นตัวแทนของอริยะสงฆ์ เรายอมรับในทางวินัย ในทางกฎเกณฑ์หรือว่าโดยสมมติ เราก็ เอาละ อย่างน้อยก็เป็นชุมชนที่มีวินัย ตั้งอยู่ในวินัย อันนี้เราก็ยอมรับว่าต้องมีการฝึกฝนตนแล้ว ใช่ไหม? อย่างน้อยต้องมีคุณธรรมระดับหนึ่ง อย่างน้อยพระวินัยก็ห้ามท่านไม่ให้กระทำอะไรเสียหาย เราก็ยกย่องในแง่ที่ว่า คนไหนที่พัฒนาตัวเองเรายอมรับ เราให้เกียรติ
ฉะนั้น ของพระพุทธเจ้านี้ท่านถือว่า ใครก็ตามที่มีความตั้งใจจะพัฒนาตนฝึกฝนตนแล้วท่านยอมรับเลย ให้เกียรติเคารพ พระสงฆ์นี้ก็เมื่อเข้ามาบวชนี้ก็เหมือนกับบอกว่า ข้าพเจ้ายินดีจะรับข้อปฏิบัติเพื่อฝึกฝนตนเอง เราก็ให้เกียรติท่าน เพราะว่าเมื่อท่านเข้ามานี้เรายอมรับท่านว่า เอาละ ท่านจะได้บรรลุธรรมแค่ไหนหรือไม่ แต่ว่านี่ท่านตั้งใจที่จะฝึกฝนพัฒนาตนเอง และก็อยู่ในระเบียบวินัยเราก็เคารพนับถือ การเคารพนับถือสมมติสงฆ์นี้เราเคารพตามรูปแบบ และก็ยอมรับในฐานะเป็นตัวแทนของสงฆ์ พอมีสมมติสงฆ์ก็ทำให้คนทั่วไปได้รู้จักว่า อ้อ หลักธรรมเกี่ยวกับอริยะสงฆ์เป็นอย่างไร และก็ทำให้มีการสั่งสอนธรรมะของพระพุทธเจ้าเพื่อจะสามารถให้คนปฏิบัติเป็นอริยะสงฆ์ได้ ใช่ไหม? ทีนี้ ถ้าไม่มีสมมติสงฆ์อยู่ ไม่มีสถาบันอยู่ ธรรมะของพระพุทธเจ้าจะไม่มีคนช่วยรักษาเดี๋ยวก็จะหายไป โอกาสที่จะเกิดอริยะสงฆ์ก็จะไม่มี
พระพรหมคุณาภรณ์ : สงสัยอะไรอีกไหม? ไม่
เณร : ………. (นาทีที่ 16.38-16.40)
พระพรหมคุณาภรณ์ : เณรยังไม่นับนะที่จริง จะถือพระภิกษุ ๔ รูปขึ้นไปด้วยนะ ...
เณร : สมมติว่าบรรลุขั้นโสดาบันขึ้นไป อย่างนี้ก็เข้า... (นาทีที่ 16.59-17.02)
พระพรหมคุณาภรณ์ : อ๋อ ท่านก็เข้าอยู่ในอริยะสงฆ์ด้วยสิ เพราะอริยะสงฆ์นี้ไม่ว่าใครทั้งนั้น ใช่ไหม?
เณร : แล้วบรรลุ... (นาทีที่ 17.09-17.13)
พระพรหมคุณาภรณ์ : นี่คือในแง่ของการบวชตามวินัยที่เป็นรูปแบบของสมมติสงฆ์ต้องมี ๔ องค์ขึ้นไปนี้ กำหนดกันตามรูปแบบภายนอก ส่วนอริยะสงฆ์นั้นกำหนดที่คุณสมบัติในใจที่ธรรมะใช่ไหม? ฉะนั้น ตอนนี้เราไม่คำนึงถ้าว่าองค์ไหนเป็นอริยะสงฆ์หรือไม่ อยู่ในอริยะสงฆ์หรือไม่? ไม่ใช่เป็นอริยะสงฆ์นะแต่อยู่ในอริยะสงฆ์ เพราะถ้าได้โสดาก็เข้าอยู่ในอริยะสงฆ์ด้วย ก็เท่านั้นแหละ องค์สมมติสงฆ์ที่อยู่เหล่านี้จะอยู่ในอริยะสงฆ์ด้วยหรือเปล่านั้นเป็นเรื่องอีกส่วนหนึ่งเราไม่ได้พูดถึง คนละตอนกัน แยกกัน เณรเข้าใจไหม? คือสมมติสงฆ์ก็ว่าเรื่องสมมติสงฆ์ไปตามรูปแบบที่เดียว เวลานั่งประชุมกันวินัยจะบอกว่า ให้สงฆ์เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย สมมติว่ามีภิกษุองค์หนึ่งทำความผิดขึ้นมาก็เอามาเข้าสงฆ์เป็นที่ประชุมพิจารณาอันนี้หมายถึงสมมติสงฆ์ใช่ไหม? เราจะไม่พูดถึงว่าองค์นั้นได้โสดาหรือไม่-ไม่เกี่ยว เข้าใจใช่ไหม? เพราะว่าเอารูปแบบเข้าว่าตามคุณสมบัติ ตามวินัยก็ใช้ได้
เณร : (นาทีที่ 18.20-18.26).... จัดเป็นสมมติสงฆ์ใช่ไหมครับ?
พระพรหมคุณาภรณ์ : ยังไม่จัด ยังพ่วงอยู่กับสมมติสงฆ์ หมายความว่าเป็นผู้ที่กำลังจะได้เป็น เพราะว่าเณรนี้คือผู้ที่จะเตรียมตัวบวชพระต่อไปถ้าตามปกติ ใช่ไหม? คือเตรียมตัวเข้าสู่สมมติสงฆ์
เณร : แล้วสามเณรนี้....(นาทีที่ 18.40-18.44)
พระพรหมคุณาภรณ์ : เป็น เข้าอยู่ในอริยะสงฆ์เลย
เณร : .....
พระพรหมคุณาภรณ์ : ใช่ ไม่อยู่ ยังไม่เข้าอยู่ สมมติสงฆ์ต้องว่าตามรูปแบบ แม้แต่เป็นชาวบ้านก็เหมือนกัน ชาวบ้านที่เขาบรรลุโสดาบันเขาก็เข้าอยู่ในอริยะสงฆ์เลย ใช่ไหม? เณรก็เหมือนกัน เณรหรือชาวบ้านบรรลุโสดาแล้วก็อยู่ในอริยะสงฆ์ แต่ว่าเณรก็ตามชาวบ้านก็ตามนั้นก็ไม่อยู่ในสมมติสงฆ์ ใช่ไหม? เพราะว่าไม่ได้ทำตามวินัยในการบวช ใช่ไหม? เณรเข้าใจนะ แยกกันอย่างนี้เหมือนอย่างกับว่าอย่างที่เปรียบเทียบให้เห็นนะ คนหนึ่งที่เขามีความรู้ สามารถเชี่ยวชาญในเรื่องอะไรซักอย่างหนึ่งนี้ เรื่องอะไร สมมติว่ารัฐศาสตร์ชำนาญการปกครอง เขาก็น่าจะเป็นบัณฑิตได้ใช่ไหมในทางรัฐศาสตร์? แต่เขาไม่มีปริญญาเอาไปแสดงกับใครไม่ได้ใช่ไหม? เขาไม่ยอมรับใช่ไหม? อย่างนี้เรียกว่า โดยสมมตินี้เขาเป็นไม่ได้ ถึงเขาจะเก่งแค่ไหนเขาก็ไม่ได้รับการยอมรับ ถ้าจะยอมรับก็ต้องให้ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ หรือปริญญาอะไร บัณฑิตกิตติมศักดิ์ก็แล้วกัน ใช่ไหม? ก็ต้องสถาบันยอมรับอีกทีหนึ่งจึงจะได้เป็น ก็แบบเดียวกัน สมมตินั้นเป็นเรื่องของสถาบัน เณรเข้าใจแล้วนะ
ทีนี้ เราก็พูดกันมาก็เรียกว่าหลายแง่หลายมุมแล้วนี้ แล้วถ้าต่อไปยังมีข้อสงสัยอะไรก็เอามาคุยกันอีก แต่ตอนนี้ก็ถือว่าจะว่าเณรจะมีสงสัยอะไรอีกไหม?
เณร : ........มี ๔ องค์.. (นาทีที่ 20.25-20.28)
พระพรหมคุณาภรณ์ : อ๋อ คือกำหนด เพราะว่าสงฆ์มี ๒ หมู่ใช่ไหม? ๒ หมู่ไม่ใช่องค์เดียว ทีนี้ว่าจะเอากันแค่ไหนจึงจะทำงานที่เป็นเรื่องของส่วนรวมได้ ท่านบอก ๒ องค์ก็ยังน้อยไป ๓ องค์ก็ยังน้อยไป ก็เลยท่านบอกว่าต้องเอา ๔ องค์ขึ้นไป ๔ องค์นี้พอสมควรเพราะว่าถ้าเราจะเอามากกว่านั้นนี้ในบางถิ่นนี้พระมีน้อยใช่ไหม? ก็เลยไม่ต้องทำงานพิจารณาเรื่องส่วนรวมไม่ได้ ท่านเอา ๔ แต่ว่าวินัยยังมีมากกว่านั้นอีก บางเรื่องท่านจะบอกเลยว่าสำหรับเรื่องใหญ่นี้ขนาดนี้ต้องพระ ๑๐ องค์ขึ้นไป จึงจะนับเป็นสงฆ์ที่จะทำเรื่องนี้ได้ และบางกรณีท่านจะกำหนดอีกว่าสำหรับเรื่องแบบนี้ต้อง ๒๐ องค์ขึ้นไปจึงเป็นสงฆ์ที่จะทำได้ เณรเข้าใจใช่ไหม? นี่คือเรื่องของการที่ว่าในแง่ของส่วนรวม การทำงานของส่วนรวมนี้เอารูปแบบเข้าว่านี้ มันก็ต้องมีวิธีการกำหนด มีกฎมีเกณฑ์เพื่อจะให้มั่นใจว่าอย่างน้อยก็ทำพอใช้ได้ ก็เหมือนอย่างเราไปเข้าสถาบันการศึกษาเล่าเรียนอะไรนี้ ก็จะมีกฎเกณฑ์ประเภทรูปแบบนี้เป็นหลักเข้าว่า ทีนี้ ในเนื้อแท้ในข้างในนี้เราก็พยายามพัฒนาคนว่าในแง่สมมติมันได้อย่างนี้แล้ว เนื้อแท้ที่เป็นอริยะก็ต้องให้ได้ด้วยนะ แต่ว่าจะได้จริงหรือไม่ก็ต้องพยายามกันไป เข้าใจไหมครับ?
ก็เอาเป็นว่าจบเรื่องพระรัตนตรัย ทีนี้ เรื่องสงฆ์นี้ก็ตกลงว่าข้อสำคัญนะที่เราพูดมาแล้วก็
๑. เมื่อเป็นสมมติสงฆ์นี้ก็บวชเข้ามาก็ได้กัลยาณมิตร หลักสำคัญกัลยาณมิตรก็ต้องทำการสงเคราะห์กันใช่ไหม? แล้วก็
๒. ก็มีวินัย
๓. จากวินัยก็มี สามัคคี
๓ อันนี้ที่จริงเป็น ๓ ส นะ
๑. กัลยาณมิตร ก็มีการสงเคราะห์กัน ๑ คือตัวสงเคราะห์ หรือ สังคหะ ในสงฆ์นี้จะต้องมีสังคหะคือการสงเคราะห์ ซึ่งทำให้เป็นหลักที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน และก็
๒. ต้องตั้งอยู่ในวินัย การตั้งอยู่ในวินัยคือคุณสมบัติของคนเรียกว่า ศีล ใช่ไหม? ศีลก็คือการที่คนแต่ละคนต้องตั้งอยู่ในวินัย รักษาวินัย และข้อ ๓
๓. สามัคคี
ก็ได้ ๓ ส
๑. สังคหะ หรือ สงเคราะห์ ทำให้เป็นกัลยาณมิตร
๒. ศีล ตั้งอยู่ในวินัย
๓. สามัคคี
ก็เป็น สงฆ์ก็ ส เหมือนกัน เป็น ๔ ส. นะ สงฆ์ก็มีหลักสำคัญ คือ สังคหะ หรือ สงเคราะห์ และก็ ศีล และก็ สามัคคี
เณรจำหลักไว้ง่าย ๆ อย่างนี้จะได้ง่ายดีนะ ถึงเอาไปใช้ข้างนอกก็เหมือนกันแหละ เราจะไปอยู่ในชุมชน ในสังคมกลุ่มย่อยอะไรต่าง ๆ นี้เอาหลักนี้ไปใช้ก็ได้ประโยชน์ คือ หลักการสงเคราะห์ ๑ เพื่อเป็นกัลยาณมิตรกัน ๒ มีหลักการตั้งอยู่ในวินัยให้เป็นผู้มีศีล และก็ ๓ มีความสามัคคีกัน หมู่คณะก็เรียบร้อย เจริญ สงบ แม้แต่ในครอบครัวก็เหมือนกันนี่นะ ครอบครัวก็พ่อ/แม่ก็ต้องสงเคราะห์นะชัดเจนแล้ว พี่/น้องก็ต้องสงเคราะห์กัน ถ้าสงเคราะห์กันก็สบายแล้ว และก็ตั้งอยู่ในวินัยเพราะวินัยก็ทำให้ไม่ละเมิดสิทธิซึ่งกันและกันของตนก็จะสามัคคีพร้อมเพรียง ได้ความสงบสุขเจริญ ต่อไปนั้นเราก็จะได้พัฒนาตนให้เป็นอริยะ ให้อยู่ในอริยะสงฆ์กันตามหลักปัญญาวิสุทธิ์จรินทร์ (นาทีที่ 24.16)
ถ้าเณรไม่มีข้อสงสัยเพิ่ม วันนี้ก็เอาแค่นี้นะ เอาละ กราบพระพร้อมกัน