วันเพ็ญเดือนวิสาขะ “ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น”
"สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ" ซึ่งแปลว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงอันบุคคลไม่ควรยึดมั่นถือมั่น คนส่วนมากยังไม่เข้าใจความหมายของพระพุทธภาษิตนี้ ซึ่งตั้งอยู่ในฐานะเป็นหัวใจของพุทธศาสนา เมื่อมีผู้ไปทูลถามพระพุทธองค์ว่า พระพุทธวจนทั้งหมดทั้งสิ้น จะสรุปลงให้สั้นที่สุด จะได้หรือไม่ได้และว่าอย่างไร พระพุทธเจ้าตรัสว่าได้ และว่า สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ เมื่อดูตามข้อความนี้จะเห็นได้ว่า พระพุทธภาษิตสั้น ๆ นี้เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
.
คำว่า
"หัวใจของพุทธศาสนา" ก็มีความเข้าใจผิดแปลกแตกต่างกันอยู่ บางคนก็ว่า โอวาทปาติโมกข์ เป็นหัวใจของพุทธศาสนา คือ คำสอนที่ห้ามไม่ให้ทำความชั่วทั้งปวง ให้ทำความดีให้เต็มที่ และให้ทำจิตให้บริสุทธิ์ ว่านี่เป็นหัวใจของพุทธศาสนาดังนี้ก็มี หรือบางคนก็ว่าอริยสัจทั้ง 4 คือ เรื่องทุกข์ เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์ เรื่องความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ และเรื่องทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้น เป็นหัวใจพุทธศาสนาดังนี้ก็มี บางคนจะว่า คาถาที่พระอัสสชิกล่าวแก่ พระสารีบุตรเมื่อยังเป็นปริพาชกคือ เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต อาห เตสญฺจ โย นิโรโธ เอวํ วาที มหาสมโณ ฯ ซึ่งมีพบจารึกในแผ่นอิฐเป็นอันมาก ทั้งในประเทศไทยและประเทศอินเดียนั้น ว่าอันนี้เป็นหัวใจพระพุทธศาสนาก็มี.
.
การที่กล่าวว่าข้อความเหล่านั้น เป็นหัวใจของพุทธศาสนา ก็เป็นการถูกต้องเหมือนกัน แต่ลองสังเกตดูให้ดีว่า อันไหนจะเป็นหัวใจของพุทธศาสนามากน้อยกว่ากันอย่างไร ในเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันกับพระพุทธภาษิตที่ว่า สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงอันบุคคลไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
.
เราจะเห็นได้ในขั้นแรกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ 3 อย่างเป็นหัวใจของพุทธศาสนานั้น ก็เป็นการถูกต้อง คือ คำสอนที่ว่าไม่ให้กระทำบาป ให้ทำดี ให้ทำบุญ ให้ทำกุศล และทำจิตให้บริสุทธิ์ นี่ก็เป็นการถูกต้อง และข้อที่ว่า ทำจิตให้บริสุทธิ์นั่นเอง คือ ทำจิตไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดว่าเป็นตัวตนของตน ดังนั้นจึงเป็นอันเดียวกันโดยปริยาย และการไม่ทำบาปหรือการทำกุศลนั้น เมื่อไม่มีความยึดมั่นถือมั่นแล้ว ก็เป็นการไม่ทำบาปและเป็นการทำกุศลอยู่ในตัว
.
ที่ว่าอริยสัจทั้ง 4 เป็นหัวใจของพุทธศาสนานั้นก็ถูกต้อง แต่พึงทราบเถิดว่า อริยสัจข้อสุดท้ายคือมรรคมีองค์ 8 นั้น คือการปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง มรรคมีองค์ 8 เมื่อปฏิบัติสมบูรณ์เต็มที่แล้ว ก็เป็นไปเพื่อความรู้แจ้งเห็นจริง ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดว่าเป็นของตนหรือตัวตน นี้จึงเห็นได้ว่า มีความเหมือนกันอยู่ที่ตรงนี้อีก
.
หรือคาถาพระอัสสชิที่กล่าวแก่พระสารีบุตรที่ว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเกิดมาแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมนั้น และตรัสความดับแห่งธรรมนั้นด้วย มหาสมณะมีปรกติตรัสแต่อย่างนี้ นี่ก็จงคิดดูเถิดว่า การที่กล่าวว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่มีอะไรมากไปกว่าเหตุ เกิดมาแต่เหตุ และจะดับไปก็เพราะการดับแห่งเหตุนั้น ก็เป็นการบอกอย่างชัดแจ้งที่สุดแล้วว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปตามเหตุหรือเป็นเพียงเหตุและผลเท่านั้นเอง ไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นส่วนไหนได้เลย เพราะเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุอยู่เสมอ ก็เป็นอันว่า มีใจความสำคัญอยู่ที่ความไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะกล่าวถึงหัวใจพุทธศาสนาในข้อไหนในรูปไหน มากหรือน้อย สั้นหรือยาวอย่างไร ใจความสำคัญก็อยู่ที่ความไม่ยึดมั่นถือมั่น เพราะฉะนั้นจึงเป็นการถูกต้องอย่างยิ่ง
.
เมื่อมีผู้ไปทูลถามพระองค์ พระองค์ก็ตรัสอย่างนี้ ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงถือเอาว่า พระพุทธภาษิตที่ว่า สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ นี้ เป็นหัวใจของพุทธศาสนา ถ้าจะให้พูดเป็นภาษาไทยสั้น ๆ ก็พูดว่า ความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง เป็นหัวใจของพุทธศาสนา
เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ขอเชิญชวนร่วมกิจกรรมวันวิสาขบูชา
“ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม เวียนเทียน และภาวนาในรูปแบบต่างๆ”
วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม 2568 เวลา 08.30 – 22.00 น.
ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์กรุงเทพ)

กำหนดการ
ภาคเช้า: บุญตักบาตร ถวายสังฆทาน สมาทานศีล และฟังธรรม ชั้น 1 โถงกิจกรรม (ลงทะเบียน register.bia.or.th)
08.30 น. ฟังธรรมบรรยายเนื่องในวันวิสาขบูชา โดย พุทธทาสภิกขุ
09.00 น. สมาทานไตรสรณคมน์และศีล
ปรารภธรรมและรับบาตร โดย พระมหาธนัย อาภายุตโต วัดพระศรีรัตนธรรมาราม จ.สมุทรปราการ
09.40 น. เวียนเทียน น้อมใจระลึกถึงองค์คุณแห่งพระรัตนตรัย ด้วยกาย วาจา และใจ
10.15 น. ใส่บาตร ข้าวสารอาหารแห้ง แด่คณะสงฆ์ 9 รูป
11.30 น. คณะสงฆ์ฉันภัตตาหาร และฆราวาสร่วมทำวัตรสวดมนต์แปล บทพิเศษ “ปฏิจจสมุปบาท”
พระภิกษุกล่าวสัมโมทนียกถาและให้พร
บูชาพระรัตนตรัย กราบลาพ่อแม่ครูอาจารย์
12.00 น. จบกิจกรรมภาคเช้า (ท่านใดเข้าร่วมกิจกรรมภาคบ่าย เตรียมอาหารกลางวันมารับประทานกันด้วยนะคะ)
สิ่งที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเตรียมมา
- ใส่บาตรพระภิกษุ 9 รูป : ข้าวสาร อาหารแห้ง (สามารถใช้ภาชนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ตะกร้า หรือถุงผ้า)
หากท่านใด นำอาหารแห้งมาจำนวนมาก สามารถนำมาวางตรงบริเวณจุดวางสังฆทาน (ด้านในโถงกิจกรรม)
- สำหรับท่านที่ต้องการร่วมถวายอาหารเพลพระ : เตรียมสำรับปิ่นโต แทนภาชนะใช้ครั้งเดียวทิ้ง
ภาคบ่าย : กิจกรรมหลากหลาย ภาวนาในรูปแบบต่างๆ (ลงทะเบียน register.bia.or.th)
13.00 – 16.00 น. อานาปานสติภาวนา โดย พระสมุห์จักรี จักกวโร วัดธารน้ำไหล จ.สุราษฎร์ธานี
ช่วงที่ 1 : ศึกษา ทดลอง “ภาวนาในรูปแบบ สู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน” (แนะนำร่วมกิจกรรมเพ็ญภาวนา ชาคริยานุโยค) ณ ห้องปฎิบัติธรรม ชั้น 2
รายละเอียด
- พระสูตรที่ควรอ่านมาก่อนจากหนังสือคู่มือบทสวดมนต์แปลพิเศษอานาปานสติสุตตปาฐะ หน้า 9 - 24 มหาสฬายตนิกสุตตปาฐะ หน้า 39 – 47 ดาวน์โหลดหนังสือ https://shorturl.asia/m6eDF
- หากท่านใดมีข้อสงสัย ในการปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา สามารถแจ้งคำถามล่วงหน้า เพื่อเตรียมการตอบคำถาม เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติต่อไป https://bit.ly/3EKyWit
ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมในพื้นที่ : https://register.bia.or.th/query.php?act_id=7647
ท่านใดสะดวกเข้าร่วมออนไลน์ ผ่าน ZOOM : https://us02web.zoom.us/j/83544803007?pwd=fEULxhZKtO1GH6Eqg8KOg5KwGJyt6Z.1
Meeting ID: 835 4480 3007 Passcode: 12345
13.00 – 16.00 น. เกมภาวนา Bull Battle สงครามวัวชน สังคมโคบาล โดย คณะสงฆ์วัดญาณเวศกวัน ณ สโมสรธรรมทาน ชั้น 1
เกมการต่อสู้ ระหว่างความดีกับความชั่ว บนเส้นทางสู่เป้าหมายที่แสนท้าทาย ร่วมเรียนรู้ผ่านนวัตกรรม เกมภาวนา

คุณสมบัติผู้เล่น
- เหมาะสำหรับผู้ที่มีเป้าหมาย หรือกำลังตามหาเป้าหมาย ของชีวิต การงาน และสังคม
- อายุ 13 ปี ขึ้นปี สามารถบวกลบเลข และสามารถวางแผนได้
13.00 – 16.00 น. ฝึกสมาธิด้วยศิลปะระบายสีน้ำ "Mandala" โดย Sine Arts ณ โถงกิจกรรม ชั้น 1
ผ่อนคลาย สร้างสุขให้ชีวิต พาตัวเองกลับไปเป็นเด็กอีกครั้งมีความสุขง่ายๆ สร้างชุดสีเฉพาะในแบบฉบับของตัวเอง เรียนรู้การใช้ภาพ Mandala เรียนรู้เทคนิคการผสมสีตามอารมณ์
กำหนดการ
12.30 น. ลงทะเบียน และแนะนำกิจกรรม
13:00 น. อธิบายหลักการระบายสีภาพ Mandala
เริ่มตั้งแต่ภาพลายง่าย และภาพยากที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
ความเป็นมาของภาพ การใช้ภาพในการฝึกสมาธิ
แนะนำอุปกรณ์ เทคนิคการใช้อุปกรณ์
เทคนิคการผสมสีให้ได้สีตามต้องการ
แนะนำการเลือกใช้สีตามอารมณ์ของสี
13.15 น. ผสมสี สร้างชุดสีแบบฉบับของตัวเอง
13:30 น. เริ่มระบายสีกับภาพง่าย ๆ 1 ภาพ
14:00 น. เลือกภาพที่อยากระบายด้วยตัวเอง 1 ภาพ
14:20 น. บันทึกความรู้สึก แชร์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นขณะระบายสี
14:45 น. แนะนำการ mindfulness ตามความรู้สึก
15:45 น. ตอบข้อซักถาม สอนเทคนิคการระบายสีเพิ่มเติม
13.00 – 16.00 น. Hello! Mindfulness กับ ครูดล ธนวัชร์ ณ ห้องนิพพานชิมลอง ชั้น 2
ถึงเวลาแล้วยัง? ที่เราจะมีสติ รู้เท่าทัน จิตใจตัวเอง ชวนมาฝึกจิตในชีวิตประจำวัน รู้เท่าทันความคิด ใช้ชีวิตให้เป็นสุข
สร้างการตระหนักรู้ตนเอง (Self-Awareness) สร้างความตระหนักรู้ (Awareness) ถึงความสำคัญและประโยชน์ของสติ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้เกี่ยวกับการฝึกสติ แก่ตนเองและผู้อื่นในการใช้ชีวิตและการทำงาน ผ่านเรื่องราว ทฤษฎี และการปฎิบัติที่ผ่านความคิด ความตั้งใจของกระบวนกร เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำไปใช้ต่อได้ด้วยตนเอง
13.30 – 16.00 น. Workshop สอนการทำไซเดอร์จากผลไม้ ฟื้นฟูร่างกาย ปรับสมดุลภายใน โดย อ.สมบัติ สวัสดิ์ผล ณ ลานไม้หอม ชั้น 2
มาฟื้นฟูระบบเผาผลาญ ฟื้นฟูระบบย่อย เพื่อชะลอวัย สอนการทำสกัดสารอาหารอย่างง่ายดายด้วยการทำไซเดอร์จากผลไม้
*สิ่งที่ผู้เข้าร่วมต้องเตรียมมา*
1. โหลแก้ว ขนาด 2-3 ลิตร 1 ใบ 2. น้ำตาลออร์แกนิค จำนวน 300 กรัม 3. แก้วชิมขนาดเล็ก 1 ใบ
4. กระติกน้ำส่วนตัว 5. (ถ้ามี) เขียง,มีดสำหรับหั่น และตราชั่งขนาดเล็ก เพื่อให้เกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมในพื้นที่ : https://register.bia.or.th/query.php?act_id=7649
14.00 – 16.00 น. สวนโมกข์เสวนา ณ โถงโอวาทปาติโมกข์ ชั้น 2
เนื่องในวันวิสาขบูชา มาพบกับวิธีลัดสั้น ในการหลุดพ้นไปจากความเป็นตัวกู-ของกู
ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมในพื้นที่ : https://register.bia.or.th/query.php?act_id=7652
ภาคเย็น : เรียนรู้ธรรมะ ทำวัตรเย็น เวียนเทียนในสวน และเพ็ญภาวนา ชาคริยานุโยค
16.30 – 18.30 น. มหาบุรุษ สู่พุทธะ ณ ลานหินโค้ง ชั้น 1
อะไร? เป็นเหตุให้ พระองค์ สลัดทิ้งสมบัติ สละอำนาจ มุุ่งสู่หนททางแห่งการหลุดพ้น ขอเชิญ...มาร่วมค้นหาความหมายของชีวิต
ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมในพื้นที่ : https://register.bia.or.th/query.php?act_id=7655
18.30 – 19.00 น. ทำวัตรสวดมนต์ และเวียนเทียนในสวน ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติ ณ ลานโพธิ์
เนื่องในวันวิสาขบูชา ชวนร่วมทำวัตรสวดมนต์ ฟังธรรม และเวียนเทียนในสวนร่วมกัน

19.00 – 22.00 น. ช่วงที่ 2 : ปฏิบัติบูชา “เพ็ญภาวนา ชาคริยานุโยค” โดย อาสากลุ่มอยู่เย็นเป็นประโยชน์ (แนะนำร่วมกิจกรรมอานาปานสติภาวนา) ณ ห้องปฎิบัติธรรม ชั้น 2
ขอเชิญชวนปฎิบัติภาวนาร่วมกันในค่ำคืนวันวิสาขบูชา ฝึกปฏิบัติ ภาวนาตามพระสูตร “อปัณณกสูตร” คือการปฏิบัติที่ไม่ผิด ประกอบด้วย การรู้ประมาณในการบริโภค การสำรวมอินทรีย์ ชาคริยานุโยค (ธรรมอันเป็นเครื่องตื่น) นำปฎิบัติโดย พระครูสมุห์จักรี จักกวโร สวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหล จ.สุราษฎร์ธานี

ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมในพื้นที่ : https://register.bia.or.th/query.php?act_id=7651
ท่านใดไม่สะดวกเข้าร่วมในพื้นที่ เข้าร่วมทาง zoom
Meeting ID: 835 4480 3007
Passcode: 12345
การลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่ ลงทะเบียนได้ที่ https://register.bia.or.th/index.php
วิธีการร่วมทำบุญ แบบออนไลน์และร่วมแบ่งปันข้าวสาร อาหารแห้ง ดังนี้
1. ร่วมกิจกรรมทำบุญตักบาตร และฟังธรรมพร้อมกัน แบบออนไลน์ได้ 2 ช่องทาง
- Facebook Live
- Youtube Live
2. สมทบปัจจัยผ่านทางออนไลน์โดยสามารถร่วมสมทบทำบุญเพื่อเป็นทุนการขับเคลื่อนงานธรรม ได้ที่ ธ.ไทยพาณิชย์ เลข บัญชี 111-296-295-8 มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ โปรดส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่ Line: @suanmokkh พร้อมระบุวัตถุประสงค์ในการสมทบ ดังนี้
2.1 เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมของสวนโมกข์กรุงเทพ ผู้ร่วมทำบุญสามารถสมทบได้ตามกำลัง ไม่มีขั้นต่ำ
2.2 เพื่อร่วมกองทุนเจ้าภาพธรรมะใกล้มือเพื่อสืบสานงานธรรมทาน ผู้สนใจร่วมสมทบทุนเป็นเจ้าภาพประจำเดือน เพื่อจัดพิมพ์และเผยแผ่ "ธรรมะใกล้มือ" ประจำปี พ.ศ. 2567 – 2568 (หนังสือธรรมของพุทธทาสภิกขุ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในอดีต แต่ไม่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่แล้ว) กองละ 3,000 บาท หรือ ร่วมสมทบทุนได้ตามกำลังทรัพย์ ได้ที่ https://shorturl.asia/cXoHD
3. ร่วมทำบุญเป็นจิตอาสางานธรรม ในงานวิสาขบูชา เวลา 07.30 – 19.30 น. ลงทะเบียนได้ที่ https://register.bia.or.th/index.php#as02
สอบถาม Line : @suanmokkh