แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ขอแสดงความยินดี แก่ท่านทั้งหลาย ที่มาสู่สถานที่นี้ ในลักษณะอย่างนี้ เพื่อมาแสวงหาความรู้ผ่านธรรมะ เพื่อไปใช้ประพฤติปฎิบัติ ให้สำเร็จประโยชน์ในหน้าที่การงานของตน ของตน ให้ยิ่งๆขึ้นไป การปฎิบัติหน้าที่ของตนนั่นแหล่ะคือการปฎิบัติธรรมะ ธรรมะคือหน้าที่ หน้าที่คือธรรมะ ปฎิบัติหน้าที่คือปฎิบัติธรรมะ ปฎิบัติธรรมะคือปฎิบัติหน้าที่ ธรรมะกับหน้าที่เป็นสิ่งเดียวกัน ต่างกันแต่ว่าธรรมะเป็นภาษาบาลี หน้าที่เป็นภาษาไทย หน้าที่หรือธรรรมะก็ตามเป็นสิ่่งที่ช่วยให้รอด
สิ่งที่ช่วยให้รอดนั้นเรียกว่าธรรมะหรือหน้าที่ ไม่มีธรรมะ ไม่มีหน้าที่มันก็ต้องตาย ไม่ทำหน้าที่หรือไม่มีธรรมะ นั่นคือความตาย ความไม่มีธรรมะหรือไม่ทำหน้าที่ คนก็ตาย สัตว์ก็ตาย ต้นไม้ก็ตาย สิ่งมีชิวิตใดก็ตามไม่ทำหน้าทื่ มันต้องตาย ในร่างกายเรานี้ เซลล์เล็กๆ สิ่งมีชีวิตเป็นล้านๆๆๆๆๆในชีวิต ในร่างกายนี้มันทำหน้าที่อยู่อย่างถูกต้อง ดังนั้นมันจึงไม่ตาย แต่ว่าหน้าที่หน้าที่มีมากกว่านั้น มันมีหน้าที่ทางจิตใจ ทางจิตใจ ซึ่่งจะต้องทำให้มันถูกต้อง ดังนั้นจึงมีความถูกต้องทั้งทางร่างกาย และทางจิตใจ
เราจะต้องศึกษาให้รู้ว่าอย่างไรเป็นการถูกต้องทางกาย อย่างไรเป็นการถูกต้องทางใจ ก็ทำให้มีความถูกต้องการทั้งกายและทางใจ ซึ่งจะทำให้อยู่รอด หน้าที่ทางกาย ทางวัตถุนั้น มันจะง่าย ก็เห็นกันอยู่ทั่วๆไปแล้ว แต่ยังต้องระมัดระวังในถูกต้องที่สุดอยู่นั้นเอง หน้าที่ทางกาย มันเรียกว่าศีล ก็รู้กันอยู่แล้ว ว่ามีความสำคัญ อยู่ที่ว่าต้องทำให้ถูกต้อง อย่าทำด้วยความเห็นแก่ตัว
รักษาศีลด้วยความเห็นแก่ตัวนั้นมันไม่เป็นศีล ต้องรักษาศีลเพื่อทำลายความเห็นแก่ตัว หรือรักษาศีลด้วยความไม่เห็นแก่ตัวมันจึงจะเป็นศีล ธรรมะอย่างอื่นอีกมากมายก็หมือนกัน ต้องประพฤติด้วยความไม่เห็นแก่ตัว และประพฤติเพื่อจะทำลายความเห็นแก่ตัวให้หมดไป หมดไป เมื่อเห็นแก่ตัวก็ย่อมเกิดกิเลส โดยแน่นอน กิเลสทั้งหลายเกิดจากความเห็นแก่ตัว เมื่อมันถูกหรือมันชอบกับความเห็นแก่ตัว
เกิดกิเลสประเภทราคะ โลภะ คือจะเอาจะยึดเอา เมื่อมันไม่ถูกกับความเห็นแก่ตัว มันก็เกิดกิเลสประเภทโทสะ โลภะ (นาทีที่ 9.59) ประทุษร้ายจะทำลายเสียให้วอดวาย เมื่อยังไม่แน่ว่าถูกใจหรือไม่ถูกใจ มีความสงสัยอยู่ มันก็เกิดกิเลสประเภทโมหะ โมหะ โง่เท่าเดิมอยู่ต่อไป เกิดกิเลสเมื่อใดมันก็มีความทุกข์ เมื่อนั้นมันก็ถูกไฟเผา มันจะถูกทุกข์ตี มันจะถูกทุกข์กระทำ ทำทุกอย่างเป็นความทุกข์ (นาทีที่ 10.57) เมื่อไม่มีความเห็นแก่ตัว มันก็ไม่เกิดกิเลสในใจ มันจึงปกติ ปกติ มันสะอาด มันสว่าง มันสงบ มันสะอาด มันสว่าง มันสงบเมื่อไม่มีความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัวนั้นมันมีแต่ปัญหาความทุกข์นั้น ทั้งตกนรก ไม่ว่าถูกใจๆ ดีใจ ก็ดีใจเป็นบ้าไปตามแบบดีใจ ไม่ถูกใจ ไม่ถูกใจก็เป็นบ้าไปแบบไม่ถูกใจ นี่มันจึงมีดีใจ เสียใจ ดีใจ เสียใจอยู่.............ไม่เห็นแก่ตัว (นาทีที่ 12.34) ความไม่เห็นแก่ตัว
ท่านทั้งหลายจงสังเกตดูให้ดีๆ เมื่อดีใจ ดีใจ ดีใจก็บ้าไปอีกแบบหนึ่ง เมื่อเสียใจ เสียใจ เสียใจมันก็บ้าไปอีกแบบหนึ่ง มันก็บ้าด้วยกันทั้งนั้น เวลาที่สบายที่สุด สบายที่สุดนั้น เวลานั้นต้องไม่ดีใจ และไม่ต้องเสียใจ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจทั้งสองอย่าง เวลานั้นสบายที่สุด ประเดี่๋ยวนี้มันมีความเห็นแก่ตัว เมื่อได้ตรงตามต้องการก็ดีใจ ไม่ได้ตามต้องการก็เสียใจนั้น เสียใจนั้น ดีใจนั้น เสียใจนั้น มันไม่ใช่ความสงบสุข มันไม่ใช่ความปกติ มันเป็นความวุ่นวายของจิตใจ อย่าเอากับมันเลย พูดอีกอย่างหนึ่งว่า หัวเราะก็ไม่ไหว ร้องไห้ก็ไม่ไหว ร้องไห้ก็เป็นทุกข์ หัวเราะเป็นบ้าก็ไม่ใช่ความสงบสุข (นาทีที่ 15.30) ไม่หัวเราะ ไม่ร้องไห้ทั้งสองอย่าง นั่นแหล่ะคือความปกติสุข
ทีนี้จะพูดถึงอะไรที่ฟังยากขึ้นไปอีกต้องฟังให้ดีๆ บุญบาปมันวุ่นวาย บาปมันก็วุ่นวายแบบบาป บุญมันวุ่นวายตามแบบบุญ มันหาใช่ความสงบไม่ เหนือบาปเหนือบุญมันจึงจะเป็นความสงบ
ลองฟังให้ดี บ้าบุญ เมาบุญ หลงบุญ เมาบุญยิ่งกว่าเมาเหล้า อย่าไปมัวเมาบุญ เมาบาปอยู่เลย อยู่เหนือบุญเหนือบาป เหนือบุญเหนือบาป อย่าให้บ้า (นาทีที่ 17.40) ถ้าจะอยู่เหนือบุญเหนือบาป มันต้องไม่มีความเห็นแก่ตัว หรือต้องไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ว่าตัวหรือของตัวนั้นมี จะอยู่เหนือบุญเหนือบาปได้ ถ้ามีความรู้สึกว่าตัวกู ตัวตนของกู มันก็ย่อมมีความเห็นแก่ตัวช่วยไม่ได้ ถ้าความรู้สึกว่ามีตัวก็จะเห็นแก่ตัวช่วยไม่ได้ ความเห็นแก่ตัวนั้นมันทำให้มีกิเลส เกิดกิเลส อย่างที่ว่ากันมาแล้ว ไม่เกิดกิเลส จะต้องไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ตัว จะต้องมีความไม่มีตัวไม่ใช่ตัว
ขอย้ำอีกทีหนึ่งว่า มีกิเลส ก็เห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว ก็รู้สึกโง่ไปว่ามีตัว ถ้าไม่มีตัว เห็นไม่มีตัว เห็นว่าไม่ใช่ตัวนั้น ทุกข์ก็ไม่เกิด ความเห็นเก่ตัวไม่เกิด ความเห็นแก่ตัวไม่เกิดก็ไม่มีกิเลส ขอย้ำอยู่ตรงนี้แหละ ย้ำตรงนี้แหละ ทีนี้ก็มาดูกันว่า กิเลส กิเลส ความรู้สึกว่ามีตัว มีตัว มีตัวนี้ก็ธรรมชาติ ธรรมชาติมันสร้างมา ให้รู้สึกว่ามีชีวิต มันจะต้องรู้สึกว่ามีตัว มีตัว มันจะได้รักษาชีวิต แต่ถ้ารู้สึกอย่างนั้น อย่างตามธรรมชาติกำหนด มันยังก็ไม่เห็นแก่ตัว......................(นาทีที่ 22.07)
มีตัว รู้สึกว่ามีตัว ยังไม่ถึงกับเห็นแก่ตัว เด็กในท้องแม่ ไม่มีความเห็นแก่ตัว มันเตรียมพร้อมว่ามีตัว มันโง่ว่ามีตัว เด็กในท้องไม่มีความรู้สึกเห็นแก่ตัว เราเกิดมาจากท้องแม่ ทีนี้มันต้องกินนมบ้าง กินอาหารบ้าง รับกับสภาพอย่างอื่นบ้าง (นาทีที่ 23.06) มันก็พอใจ พอพอใจก็กูพอใจ พอไม่พอใจก็กูไม่พอใจ กูมันเกิด ใครที่โง่ว่ามีตัว ว่าเกิดมาจากท้องแม่แล้ว มันโง่มาก มากเกินไป ตาเห็นรู้ มันก็โง่ว่ากูเห็นรู้ หูได้ยินเสียงมันก็โง่ว่ากูได้ยินเสียงก็สำคัญว่ากูได้ยิน จมูกได้กลิ่นก็โง่ว่ากูได้กลิ่น เปรียบเทียบกันดูว่ารู้สึกว่าตาเห็นรูปกับความรู้สึกว่ากูเห็นรูปว่ามันต่างกันกี่มากน้อย ต่างกันกี่มากน้อย ถ้าตาเห็นรูปมันไม่เท่าไหร่ มันไม่เกิดความเห็นแก่ตัว แต่ถ้ากูเห็นรูป กูเห็นรูป เนี่ยมันจะเห็นแก่ตัว มันจะเห็นแก่ตัว หูได้ฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัส ผิวหนัง..........(นาทีที่ 25.55) พวกเราจะทำอะไร ทำอะไร ก็เป็นกูไปหมด ปัญหามันเจอแต่กู เจอแต่กู เป็นกูเต็มไปหมด เป็นตัวเป็นตนกันไปหมด ที่นี้ดูให้ดีจะแก้กันยังไง พอลิ้น ลิ้น อร่อย ว่ากูอร่อย อร่อย ให้ออกจากกู คิดจะเอา คิดจะลักขโมยถ้าหาไม่ได้ (นาทีที่ 27.05) ถ้ามีตัวกูมันจะคิดไปต่างๆอย่างนั้น เมื่อไม่มีกูไม่เห็นแก่ตัวกู ก็ทำไปโดยไม่ตัองเห็นแก่ตัวกู
เหมือนกับที่สอน (นาทีที่ 27.55) ตั้งแต่ยกเท้าหนอ ไม่ใช่กูเลย ย่างเท้าหนอก็ไม่ใช่กูเลย เจ็บหนอวางหนอก็ไม่ใช่กูเจ็บ ไม่ใช่กูวาง ไม่มีตัวกู ทุกอริยาบทที่ทำ (นาทีที่ 28.13) ถ้าปฏิบัติอยู่อย่างนี้ มันก็ไม่เกิดตัวกู ไม่เห็นแก่ตัว จะไม่เกิดกิเลส มันก็ไม่เกิดความทุกข์ ไม่มีความทุกข์ ถ้าไม่มีความรู้สึกว่าตัว ก็มีความรู้สึกว่าไม่ใช่ตัว เป็นตามธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติให้ยืมใช้ ยืมมาใช้ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตัว มีแต่ธรรมชาติ ธรรมชาติ
ชีวิตนี้ชีวิตนี้มีแค่นี้แหล่ะ ธรรมชาติให้ยืมมาใช้ ร่างกายธรรมชาติให้ยืมมาใช้ จิตใจก็ธรรมชาติให้ยืมมาใช้ ทุกอย่างเป็นธรรมชาติให้ยืมมาใช้ ยิ่งกว่านั้นยังยินยอมให้พัฒนา ให้พัฒนา ให้พัฒนา ให้ดีตามจิตที่ต้องการ เอาไปพัฒนาได้ด้วย ให้ยืมมาใช้ยังยอมพัฒนาได้ด้วย แต่อย่าโง่ว่ามันเป็นของกู
ให้นึกว่ายืมใช้ พัฒนาได้นั่น ให้ยืมใช้ไม่คิดดอกเบี้ย ให้ยืมใช้ไม่คิดค่าสึกหรอ.............(นาทีที่ 31.48) ไม่คิดดอกเบี้ย ไม่คิดค่าสึกหรอ ให้คิดว่ายืมมาใช้ ให้พัฒนาเอง อย่าโกงธรรมชาติ อย่ายักยอกธรรมชาติเอามาเป็นของกู มันเป็นของธรรมชาติยืมใช้ พัฒนา พัฒนา นั่นแหล่ะคือการปฎิบัติธรรมะ ธรรมชาติให้ยืมมาให้พัฒนาตัวเองได้ด้วย นั่นคือการปฏิบัติธรรมะ ปฏิบัติธรรมะให้มีความสุขตามที่พอใจ จงทำกับธรรมชาติอย่างอื่นอย่างให้ยืมมาใช้ ไม่โกงเป็นของกู พัฒนาร่างกาย จิตใจ ให้บรรลุนิพพาน ให้บรรลุนิพพาน นั่นคือหน้าที่ หน้าที่ ทุกคนจงกระทำ พัฒนาความรู้ทางสติปัญญาให้ดีขึ้นเลย ตลอดเวลาอย่างงั้น อย่างงั้น อย่าไปโกง อย่าไปโกง อย่ายักยอกขันธ์ทั้งห้ามาเป็นของกู เป็นของกู ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้อง โดยสุจริต โดยตระหนัก โดยตระหนัก (นาทีที่ 34.25) จนบรรลุมรรคผล นิพพาน เนี่ยละหัวใจของพระพุทธศาสนา มีอยู่เท่านี้ อย่ายึดถืออะไรเป็นตัวตน ปฎิบัติอยู่เรื่อยไป อย่ายึดติดในตัวตน ท่านจะบรรลุมรรคผล นิพพาน หัวใจพระพุทธศาสนามีอยู่เท่านี้ แปลว่ามันเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง เรื่องยาก เรื่องลึกซึ้ง ยากที่พระพุทธเจ้าจะไปสอน ยากที่จะไปสอน ที่จะไปสอน ไม่มีคนฟังถูก ก็จะไปสอน (นาทีที่ 35.35) มันยากถึงขนาดนั้น ตอนแรกก็มีความคิดขึ้นมาอีกว่า โอ้ มันก็มีบ้างไม่มีบ้างบางคน ที่เข้าใจได้ มันสอนได้แค่คนบางคน อาตมาเป็นทาส เป็นทาสของพระพุทธเจ้า จึงสอน (นาทีที่ 36.35) สอนแล้ว พูดแล้ว ท่านทั้งหลายฟังไม่ถูกนั่น อาตมาเป็นผู้เป่าปี่ให้เต่าฟัง เป่าปี่ให้แคร่ฟัง ตนเองเป็นผู้เป่าปี่ให้แคร่ฟัง เต่าฟัง ถ้าท่านทั้งหลายฟังไม่ถูก ถ้าท่านทั้งหลายฟังไม่ถูกท่านทั้งหลายเป็นเต่าที่ฟังไม่ถูก เป็นแคร่ที่ฟังไม่ถูก เป็นแคร่ที่ฟังเสียงปี่ไม่ถูก เป็นเต่าที่ฟังเสียงปี่ไม่ถูก ถ้าท่าน... เพราะฉะนั้นเลิกเป็นเต่า ฟังธรรมะไม่ถูก..(นาทีที่ 37.30) ปฎิบัติหน้าที่ มีศีล สมาธิ ปัญญาอยู่ตลอดเวลา……………..(นาทีที่ 38.30) เวลาที่พูดวันนี้ก็ยุติเพียงเท่านี้